โรคไข้เลือดออก วายร้าย มาพร้อมช่วงหน้าฝน

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ซึ่งโรคนี้มี ยุงลายเป็นพาหนะนำโรค ระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี มักพบในพื้นที่ประเทศเขตร้อน กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี , 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ

เมื่อยุงลาย ดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

อาการป่วยไข้เลือดออกครั้งแรก จะไม่ค่อยรุนแรงมาก แต่หากเป็นครั้งที่ 2 จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เลือดออก และช็อกได้ ส่วนการวินิจฉัยโรคในช่วงแรกจะแยกจากอาการไข้ทั่วไปค่อนข้างยาก ต้องตรวจจากการเจาะเลือด ซึ่งหากป่วยเพียง 1-2 วัน การเจาะเลือดอาจจะไม่พบเชื้อ ต้องใช้เวลา 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย

กรณีที่เป็นหนักมากๆ

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการเพื่อประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

การดูแลอาการเบื้องต้น

ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ รับประทานอาหารอ่อน งดอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีสีคล้ายเลือด เพื่อไม่ให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน อาจรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอลได้แต่ในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น

ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น หากพบว่าผู้ป่วยอาเจียนมาก ปวดท้องมาก ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวเย็นผิดปกติ ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ภาวะโลหิตจางจากธาลัสซีเมีย

1.  ธาลัสซีเมีย คืออะไร?

ธาลัสซีเมีย เป็นภาวะโลหิตจางที่เกิดจากสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติจากการที่มีความผิดปกติของยีนที่ใช้ในการควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะอายุสั้น และถูกทำลายได้ง่าย

2. โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไร?

โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อและแม่ โดยโรคธาลัสซีเมียแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อัลฟา และเบต้าธาลัสซีเมีย

3. อาการของโรคธาลัสซีเมียมีอะไรบ้าง?

ผู้ป่วยที่มีตัวโรคไม่รุนแรงจะมีอาการซีดเพียงเล็กน้อย ที่ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายมาด้วยอาการตัวซีดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีตัวซีดชัดเจน ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต รูปหน้าเปลี่ยน และการเจริญเติบโตผิดปกติ

4. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่?

ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการจะทราบได้จากการไปตรวจสุขภาพ แล้วแพทย์ได้ซักประวัติ ตรวจร่างกายและเจาะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ร่วมกับการส่งตรวจชนิดพิเศษ ได้แก่ Hb typing และการตรวจวิเคราะห์DNA เพื่อหายีนธาลัสซีเมีย

5. โรคธาลัสซีเมียรักษาอย่างไร?

โรคธาลัสซีเมียแบ่งออกเป็นชนิดพึ่งพาเลือด และไม่พึ่งพาเลือด ในผู้ป่วยที่เป็นธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดจะต้องได้รับเลือดเป็นประจำทุกๆ 3-4 สัปดาห์ ในรายที่ได้รับเลือดตั้งแต่ 10-12 ครั้งขึ้นไปจะเริ่มมีภาวะเหล็กเกิน จึงต้องได้รับยาขับเหล็กร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ส่วนในผู้ป่วยชนิดที่ไม่พึ่งพาเลือดควรได้รับโฟลิคเสริมอย่างเพียงพอและมาตรวจติดตามอาการตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

6. โรคธาลัสซีเมียป้องกันได้ไหม?

สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มียีนแฝงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ คู่สมรสจึงควรตรวจหาพาหะธาลัสซีเมียเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะมีบุตร

บทความโดย
พญ.ปัญจรัตน์ โสวิทยสกุล (โรคเลือดเด็ก)

ลาก่อนขวดนม (Bye-bye Bottle)

ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักกังวลว่า ลูกไม่ยอมกินข้าว ฟันผุ โรคอ้วน พอถามประวัติมักจะได้ยินว่าเด็กยังดูดขวดนมทั้งที่อายุเกิน 1  ปี ซึ่งไม่เหมาะสม   ราชวิทยาลัยกุมารแพทยแห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำว่าเด็กควรเลิกขวดนมจากขวดตั้งแต่อายุ 1ปี ไม่ควรเกินอายุ  1 ปีครึ่ง เนื่องจากเด็กที่ดูดนมจากขวดจะทานนมในปริมาณมากกว่าทานจากแก้ว ทำให้ไม่ค่อยรับประทานอาหารอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก มีผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางและขาดวิตามินซี

แนวทางการเตรียมเลิกขวดนม

วัยเด็กเล็ก ควรฝึกหัดใช้แก้วหัดดื่ม (sippy cup)หรือจิบน้ำหรือนมด้วยช้อนตอนอายุ 6 - 9 เดือน ไม่ใช้ขวดเป็นการกล่อมเด็กนอนหรือเป็นของเล่น เด็กอายุ9 เดือนส่วนใหญ่หลับยาว ไม่จำเป็นต้องปลุกมาทานนมกลางดึกแล้ว

วัยเด็กโต ที่ไม่ยอมเลิกขวด

บทความโดย
พญ.กนกพร ศรีรัตนวงศ์

สาเหตุ เป็นกลุ่มอาการโรคที่มีการอักเสบของหลายอวัยวะในร่างกาย เป็นโรคอุบัติใหม่ เกิดตามหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก ซึ่งในช่วงแรกเด็กอาจจะมีความรุนแรงน้อยหรือไม่มีอาการของการติดเชื้อโควิด-19เลยก็ได้ หลังจากนั้นประมาณ 2-6 สัปดาห์เด็กจะมีอาการไข้ตัวร้อนขึ้นมา เชื่อว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโควิด-19 แล้วมาแสดงอาการของการอักเสบของหลายๆอวัยวะตามมา

อาการ มักจะมีไข้สูงร่วมกับอาการแสดงว่ามีการอักเสบของอวัยวะอื่นอีกอย่างน้อย 2 ระบบ ที่พบบ่อยคือด้านหัวใจและทางเดินอาหาร เด็กอาจจะมีอาการทางระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้นร่วมด้วยก็ได้ ในเด็กเล็กอาการอาจจะมีอาการคล้ายไข้คาวาซากิ คือมีตาแดง ผื่น ร่วมด้วย แต่ไข้มิสซีจะมีความรุนแรงทางด้านของระบบการไหลเวียนของเลือดมากกว่า พบว่ามีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจได้เช่นเดียวกัน รวมทั้งจะมีการทำงาน บีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติ และแสดงภาวะรุนแรงถึงช็อกมากกว่าไข้คาวาซากิ

การรักษา แนวทางของการดูแลรักษามีการปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆในช่วงสองปีนี้ ที่แสดงว่าได้ผลในการรักษาคือ การให้ภูมิคุ้มกัน (IVIG) เข้าทางหลอดเลือดดำเหมือนกับการรักษาไข้คาวาซากิ และมีการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (steroid) รวมทั้งยาใหม่ๆเพื่อต้านการอักเสบเฉพาะด้านในรายที่รุนแรง การใช้ยาแอสไพรินเพื่อลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดก็สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนด้านการอุดตันของหลอดเลือดในเด็กที่มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ ผลการรักษาส่วนใหญ่ดีแต่ก็มีอัตราการเสียชีวิตในรายที่รุนแรงได้ ยังต้องมีการติดตามผลการรักษาในระยะยาวต่อไป

รับชม Video เพิ่มเติมที่ :

วันนี้มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมีลูกน้อย อย่างที่ทราบกันดีว่า เด็กเล็กมักป่วยบ่อย หรือไม่สบายบ่อยๆ และมักพบว่ามีไข้สูง ในสถานการณ์แบบนี้ ในฐานะพ่อๆแม่ๆ อย่างเรามักทำกัน คือ การให้ลูก/เด็กรับประทานยาลดไข้ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดไข้ได้อย่างรวดเร็ว คือ วิธีการเช็ดตัวลดไข้ให้กับลูกน้อยของเรานั่นเอง ซึ่งการเช็ดตัวลดไข้จะเป็นการระบายความร้อนในร่างกายของลูกน้อยได้ เพื่อให้ภาวะไข้ลดลง แต่การเช็ดตัวควรทำให้ถูกวิธี เพื่อจะช่วยให้ไข้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันภาวะชักได้ ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ไข้สูงจนมีอาการชัก อาจส่งผลกระทบต่อระบบสมองของเด็ก หรือพัฒนาการของเด็กได้  

ควรเริ่มเช็ดตัวลูก เมื่อมีอุณหภูมิเท่าไหร่ ?
ควรเริ่มเช็ดตัวตั้งแต่มีไข้ อุณหภูมิ 37.7 องศาขึ้นไป

อุปกรณ์หรือสิ่งที่ต้องเตรียม

คำแนะนำที่ควรรู้ก่อนการเริ่ม เช็ดตัว

การเช็ดตัวอย่างถูกวิธีทำอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติหลังเช็ดตัวเสร็จ

รับชม Video เพิ่มเติมที่ :

โนโรไวรัส ตัวร้ายก่อโรคระบาด"ท้องเสีย"

Norovirus หรือชื่อเดิมว่า Norwalk virus เป็นสาเหตุของการระบาดของการติดเชื้ออุจาระร่วงจากเชื้อไวรัส พบว่าเป็นสาเหตุของท้องเสียที่ไม่ใช่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดในโลก สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามีการ ปนเปื้อนของเชื้อไวรัสนี้ในอาหารและน้ำดื่ม ก็จะมีจำนวนคนป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในระยะเวลาอันสั้น

ไวรัสนี้มีระยะฟักตัว 12 – 48 ชั่วโมง มีความคงทนในสิ่งแวดล้อมมาก น้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ ที่ใช้อยู่ รวมทั้งแอลกอฮอล์ ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อได้ ในทางปฏิบัติ สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อได้จะอยู่ในจำพวก ฟอร์มาลิน กลูตารอลดีไฮด์ และสารประกอบจำพวกคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ คลอรอกซ์ และ ไฮเตอร์ อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวมี กลิ่นเหม็นมากจึงใช้ยาก นอกจากใช้ล้างห้องน้ำ ในทางปฏิบัติจริงๆจะใช้หลักการทำความสะอาด ด้วยวิธีใช้น้ำ และสบู่ล้างมือ ทำความสะอาดให้มากที่สุด โดยใช้น้ำชะล้าง เพื่อทำให้ไวรัสเจือจางไปให้มากที่สุด และทำความสะอาด เครื่องใช้ด้วยหลักการเดียวกัน

อาการที่พบได้

คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ  ปวดท้อง  ปวดศีรษะ  มีไข้  ปวดเมื่อยตามตัว สำหรับรายที่มีอาการอาเจียนและ ถ่ายเป็นน้ำมาก จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำเช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก มีชีพจรเบาเร็วและมีความดันโลหิตต่ำ

การวินิจฉัย

ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การรักษา

การป้องกัน

เชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันได้ โดยผ่านอาหารและน้ำที่แปดเปื้อนเข้าทางปาก การดูแลสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะช่วยลดปัญหา การติดเชื้อนี้ได้

บทความโดย
พญ.วรรณวรา อังศุมาศ

ถอดประสบการณ์ของครอบครัวผู้ป่วยเด็ก"คาวาซากิ" ที่หมอวินิจฉัยว่า มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านโรคหัวใจ…

ไข้คาวาซากิเป็นโรคที่พบมานานเกือบ 50 ปีแล้ว โดยที่เรายังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เราเชื่อว่าเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสบางตัวโดยที่เชื้อที่เป็นต้นเหตุนั้นหายไปแล้ว ทำให้ตรวจไม่พบแต่ภูมิคุ้มกันนั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาของอวัยวะหลายๆอย่างในร่างกาย โรคนี้พบมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศทางซีกโลกตะวันออกรวมทั้งประเทศไทย

วันนี้เรามาอ่านบทสัมภาษณ์ของครอบครัวผู้ป่วยเด็กหญิง อายุเพียง 9 เดือน ณ ขณะนั้น ที่ได้เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต และหมอวินิจฉัยว่าน้องมีอาการของไข้คาวาซากิ และต่อมากุมารแพทย์หัวใจ พบว่าน้องมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านหัวใจ ที่เป็นผลมาจากไข้คาวาซากิ

ผู้สัมภาษณ์ : อยากให้ทางครอบครัวช่วยเล่าเหตุการณ์ตอนน้องป่วยแรกๆ หน่อยค่ะ
ครอบครัวผู้ป่วย (คุณยาย) : ในช่วงเย็น ได้พาน้องมาอาบน้ำ รับประทานนมเสร็จ แล้วสังเกตเห็นว่า บริเวณที่ฉีดวัคซีน มีลักษณะบวมๆ เหมือนมีอะไรต่อยเลยทายาให้ แต่ตอนนั้นไม่มีไข้ ไม่มีอาการอะไรเลย แต่ช่วงดึกเวลาประมาณตีสาม น้องรับประทานนม แล้วมีอาการอาเจียน และมีผื่นขึ้น ผื่นขึ้นจากด้านหลังก่อน และลามมาด้านหน้า และลงขา...

ครอบครัวผู้ป่วย (คุณแม่) : น้องมีลักษณะเป็นผื่นแดงๆ วันแรกที่เป็นจะเป็นด้านหลังก่อน ตอนแรกพาน้องไปหาหมอที่คลินิกก่อน แต่ว่าไข้ไม่ลด และน้องเริ่มมีอาการตาแดง ก็เลยรีบพามาที่โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต เพื่อให้คุณหมอตรวจ เพราะว่า ตาน้องแดง คล้ายอาการออกหัด และเมื่อคุณหมอตรวจพบว่า หัวใจน้องฟังแล้วเสียงไม่ปกติ คุณหมอเลยให้น้องแอดมิท

เมื่อครอบครัวพาน้อง(ผู้ป่วย) มาถึงโรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต แพทย์พบว่าน้องมีอาการไข้คาวาซากิ และพบว่าน้องมีภาวะแทรกซ้อนจากเป็นไข้คาวาซากิ โดยพบว่ามความผิดปกติทางด้านหัวใจ... ในส่วนนี้จะเป็นการถอดบทสัมภาษณ์ การบอกเล่าอาการของผู้ป่วย ในด้านของแพทย์ โดย นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต และกุมารแพทย์ชำนาญการด้านโรคหัวใจเด็ก

ผู้สัมภาษณ์ : คุณหมอช่วยอธิบาย ภาวะอาการแทรกซ้อนของน้องให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร :
น้องมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านหัวใจ จากการไข้คาวาซากิ โดยพบว่าลักษณะเสียงหัวใจที่แปลกของน้อง คือ มีเสียงคล้ายม้าควบ กรุบ กรุบ โดยเสียงหัวใจลักษณะนี้ ทีมแพทย์ฟังกันหลายคน และลงความเห็น ความมั่นใจว่ามันไม่ปกติ โดยปรากฎว่าลำดับแรก มีเยื่อหุ้มน้ำในช่องเบื่อหุ้มหัวใจ และมีลิ้นหัวใจรั่วเล็กน้อยทางด้านซ้าย หลอดเลือดหัวใจที่ไปเลี้ยงหัวใจยังไม่โตแต่มีความหนา มีลักษณะหนาผิดปกติ จากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ฉะนั้นจากการที่ได้ยินว่าเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ น่าจะเกิดจากลิ้นหัวใจรั่ว ทีมแพทย์เลยไม่รอช้า เพราะกลัวจะเกิดปัญหามากขึ้น เลยตัดสินใจรักษาโดยทันที

ผู้สัมภาษณ์ : กลับมาในด้านของครอบครัวนะคะ อยากถามถึงความรู้สึกตอนนั้นค่ะตกใจมั้ยคะ พอดีทราบมาคร่าวๆว่า ทางครอบครัวไม่รู้จักเรื่อง "ไข้คาวาซากิ" เลย
ครอบครัวผู้ป่วย (คุณแม่) :
ตอนรู้ว่าน้องเป็นไข้คาวาซากิ และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ ก็ตกใจค่ะ กลัว่าจะเป็นอะไรมาก เพราะหัวใจน้องไม่ปกติ ประทับใจคุณหมอที่ใส่ใจเร่งตรวจหาสาเหตุ รักษาและให้ยาทันที คุณหมอไม่ปล่อยเวลา พอรู้แล้วรักษาทันที

ก่อนจบการสัมภาษณ์ ในฐานะผู้ให้บริการทางแพทย์ และเนื่องจากไข้คาวาซากิ พ่อๆแม่ๆ หรือผู้ปกครองหลายๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักไข้คาวาซากิ และความรุนแรงของโรคนี้มากเท่าไหร่ จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึง และคอยสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ


ผู้สัมภาษณ์ : ในฐานะทีมแพทย์ อยากให้ทุกคนตระหนักถึงโรคคาวาซากิอย่างไรคะ ?
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร : โรคนี้ ปัจจุบันพบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยมากในอดีต แต่มันสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ถ้าพ่อแม่ หรือผู้ปกครองท่านใดที่มีบุตรหลานที่มีไข้หลายๆวัน มีลักษณะตาแดง สงสัยว่าจะเป็นโรคหัด หรือมีผื่นขึ้น ตาแดง ปากแดง มีตุ่มวัคซีนบวมแดงร่วมด้วย ก็จะยิ่งน่าสงสัยมากขึ้น เช่นนั้นควรจะต้องได้รับการตรวจโดยกุมารแพทย์ เพื่อแยกภาวะนี้ ทั้งนี้จะได้ให้แพทย์ทางด้านหัวใจช่วยดูอาการด้วยอีกทางหนึ่ง เพราะไข้คาวาซากิ มักส่งผลภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น

โรคมือเท้าปาก (Hand-Foot-and-Mouth-Disease)

"โรคมือ เท้า ปาก"  มีลักษณะเฉพาะ คือ มีตุ่มน้ำใสที่ ปาก มือ และเท้า และเชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดโดยทั่วไป คือ COXSACKIE A16 , ENTEROVIRUS 71 รายที่พบประปราย พบสาเหตุจากเชื้อหลายชนิด ได้แก่ COXSACKIE VIRUS A4-10, B2 และ B5 และ ECHOVIRUS ปัจจุบันประเทศไทยพบสาเหตุจาก EV71 ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งเชื้อ EV71 นั้นมีโอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้

บริเวณที่เกิดโรค ได้แก่...

อาการ และระยะฟักตัวของ "โรคมือเท้าปาก"

อาการแสดงที่ต้องเฝ้าระวัง ในรายที่ต้องสงสัย"ภาวะแทรกซ้อน" จากเชื้อไวรัส EV 71

โดยปกติแล้ว เมื่อผู้ป่วยป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 5-7 วัน แต่ขณะเดียวกันคือ ภาวะแทรกซ้อนก็พบได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ EV71 ซึ่งเป็นเชื้อที่รุนแรงที่สุด โดยภาวะที่แทรกซ้อนที่รุนแรง คือ "ก้านสมองอักเสบ” ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ 1-5 รายต่อปี แต่ทั้งนี้ก็มีโอกาสเสียชีวิตสูง

อาการที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง และหากพบว่ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ภายใน 3 - 5 วัน หลังเริ่มมีอาการ ให้รีบมาพบแพทย์โดยทันที

วัคซีนป้องกันเชื้ออีวี 71 คืออะไร ?

เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคมือ เท้า ปากที่มีสาเหตุมาจากเชื้ออีวี 71 โดยมีคุณสมบัติ คือ

ระยะเวลาการเข้ารับวัคซีนอย่างไร ?

ความปลอดภัยของวัคซีนป้องกัน"โรคมือเท้าปาก" จาก EV71

ปัจจุบันมีการใช้มาแล้วกว่า 48 ล้านโดสในประเทศจีน

มีความปลอดภัยสูง ยังไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นเพียงอาการทั่วไป เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง และพบได้เป็นปกติภายหลังการฉีดวัคซีนทั่วไป

บทความโดย
พญ. อภิภัสร์ สุทธิพันธุ์
แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชกรรม

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก คือ วัคซีนที่เด็กๆ ทุกคนควรได้รับตั้งแต่แรกเกิดซึ่งวัคซีนที่จำเป็นแต่ละชนิดควรได้รับตามวัยของลูกน้อย เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานและป้องกันโรคภัยต่างๆ เพราะการฉีดวัคซีนจะช่วยสร้างภูมิต้านทานของโรคให้แก่เด็กในระยะยาว

เด็กแต่ละช่วงวัย ควรได้รับวัคซีนอะไรบ้าง ?

วัคซีนทารกแรกเกิด

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 1 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 6 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 9 – 12 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 12 – 15 เดือน
วัคซีนเสริมที่ควรได้รับ ได้แก่...

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 18 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2 – 4 ปี

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 4 – 6 ปี

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 11 – 12 ปี

          วัคซีนเสริมที่ควรได้รับ ได้แก่...

การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับวัคซีน

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ 1 ควรตรวจภูมิคุ้มกันหลังมีดวัคซีนตับอักเสบบีหรือไม่ แนะนําในกลุ่มไหน ?

ตอบ : ในเด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบปี หลังจากได้รับวัคซีนครบแล้ว แนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบี ที่อายุประมาณ 9-12 เดือน เพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีจริง และยืนยันว่าไม่ติดไวรัสชนิดด้วย

คำถามที่ 2 วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน มีอาการข้างเคียงที่สำคัญอย่างไร

ตอบ : อาการข้างเคียงที่สำคัญหลังฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ ไข้สูง ร้องกวน ตัวอ่อนปวกเปียก มักเกิดในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากคว้าเงิน หากใช้วัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์โอกาสเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้จะลดลง อาการทางสมองที่รุนแรง (encephalopathy) ที่เกิดขึ้นหลังจากฉีควัคซีนภายใน 7 วัน ถือเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโอกรบทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตามพบได้น้อยมาก ให้ใช้วัคซีนคอตีบ บาดทะยักแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้แบบรุนแรง ahabaliyasis) เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ทุกชนิด

คำถามที่ 3 ทำไมต้องฉีดวัคซีนโปลิโอตอนอายุ 4 เดือนร่วมกับหยอดโปลิโอด้วย

ตอบ : ปัจจุบันวัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV) มีส่วนประกอบเป็นเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ 1 และ 2 เท่านั้น ไม่มีเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ที่ 2 เนื่องจากไม่พบการระบาดของสายพันธุ์นี้ และคาดว่ากำจัดได้หมดแล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการระบาดใหม่ที่อาจพบได้จากเชื้อในธรรมชาติ จึงต้องรับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (PV) ที่มีทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งพบว่า เมื่อให้ IPV 1 เข็ม ที่อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี จึงแนะนำให้เด็กอายุ 4 เดือน ที่ รับวัคซีน OPV ต้องรับวัคซีน IPV ด้วย

คำถามที่ 4 วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ควรเริ่มให้อายุเท่าไหร่ กี่เข็ม

ตอบ : ปัจจุบันแนะนำให้เริ่มให้ MMR เข็มแรกที่อายุ 9 เดือน ถึง 1 ปี การที่รับวัคซีนก่อนหน้าเร็วเกินไป วัคซีนจะไม่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันแม่ที่ยังหลงเหลืออยู่ ขัดขวางการสร้างภูมิในตัวของเด็ก เข็มที่สองให้เมื่ออายุ 18 เดือน

คำถามที่ 5 วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ต่างจากชนิดเดิมอย่างไร ?

ตอบ : วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีปัจจุบัน ผลิตจากไวรัสที่อ่อนกำลังลง นำมาทดแทนวัคซีนเดิมที่ผลิตมาจากเชื้อตาย วัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่อ่อนกำลังต้องฉีด 2 เข็ม มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนเชื้อตายที่ต้องฉีด 3 เข็ม และอาจพบผลข้างเคียง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน ไข้ ปวดศีรษะ ลมพิษ หรือภาวะสมองอักเสบ เฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตามวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นนี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

คำถามที่ 6 วัคซีนเอชพีวี (HPV) สามารถให้ในเด็กชายได้หรือไม่

ตอบ : สามารถให้ได้ วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งที่ทวารหนักได้ แต่ปัจจุบันวัคซีนนี้ยังไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กชายไทย วัคซีนเอชพีวีชนิด 4 สายพันธุ์มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ และทวารหนักได้ด้วย

คำถามที่ 7 ถ้าได้รับวัคซีนไม่ครบ จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่หมดหรือไม่

ตอบ : ไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่ ให้ฉีดต่อจนครบ

เตรียมความพร้อมลูกน้อยก่อนเข้าเรียน ทั้งวัยอนุบาล และประถม

ก่อนเปิดภาคเรียน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองหลายๆ ท่านมักมีความกังวลเรื่องการเตรียมตัวลูกน้อย หรือบุตรหลานของเราก่อนเข้าเรียน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลใจด้านการเข้าสังคม การปรับตัว การเรียน หรือพัฒนาการของเด็กเอง วันนี้คุณหมอจึงอยากนำสาระดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง เพื่อใช้เป็นแนวคิด หรือแนวทางปฏิบัติก่อนส่งลูกน้อยเข้าโรงเรียน

เมื่อไหร่ควรส่งลูกไปเรียน ?

สิ่งที่ต้องฝึกฝนเตรียมลูกก่อนไปโรงเรียน

คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน (วัยอนุบาล)

คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน (วัยประถม)

เนื่องจากประถมเป็นวัยที่เข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาการพร้อมทุกด้านทั้งด้านการสื่อสาร การเคลื่อนไหว การช่วยเหลือตนเอง การควบคุมอารมณ์และ เรียนรู้รอบด้าน ดังนั้นการเข้าโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เด็กที่ปรับตัวเข้ากับครูและเพื่อนได้ ทำตามคำสั่งของคุณครูได้จะมีโอกาสที่จะเรียนรู้ได้ดี อยู่ร่วมกับเพื่อนคนอื่นภายใต้กฎระเบียบที่โรงเรียนกำหนด

ดังนั้นการเตรียมเด็กให้พร้อมเข้าโรงเรียนจึงมีความสำคัญครูและพ่อแม่จะต้องช่วยฝึกฝนให้เป็นไปในทิศเดียวกันและต้องเข้าใจความรู้สึกของเด็กให้กำลังใจและคอยสนับสนุนให้เด็กได้เติบโตและปรับตนเองเพื่อเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ มีความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น เด็กจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและทำกิจกรรมนอกบ้านนานขึ้น อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนจะเริ่มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กทั้งเชิงบวกและลบ เช่นนี้แล้ว...สำหรับเด็กประถม หมอขอแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนดังนี้ค่ะ

บทความโดย
พญ.วรรณวรา อังศุมาศ


โรคไข้คาวาซากิ ชื่อเท่แต่อาการไม่เท่

สาเหตุ ไข้คาวาซากิเป็นโรคที่เราพบมานานเกือบ 50 ปีแล้วโดยที่เรายังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เราเชื่อว่าเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสบางตัวโดยที่เชื้อที่เป็นต้นเหตุนั้นหายไปแล้วทำให้ตรวจไม่พบแต่ภูมิคุ้มกันนั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาของอวัยวะหลายๆอย่างในร่างกาย โรคนี้พบมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศทางซีกโลกตะวันออกรวมทั้งประเทศไทย

อาการ มักจะเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะมีอาการไข้สูงเป็นอาการนำร่วมกับมีอาการอย่างอื่นได้แก่ตาแดง ปากลิ้นแดง มีผื่นแดงตามตัว มือเท้าบวมแดงและมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคออักเสบโตด้วย อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมาพร้อมพร้อมกันตามหลังไข้แต่เด็กบางคนมีอาการไม่ครบคือมีเพียง 2-3 อย่างข้างต้นเท่านั้นทำให้การวินิจฉัยยาก ความสำคัญของ ไข้คาวาซากิคือจะมีการอักเสบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจทำให้เกิดการขยายตัวโป่งพองของหลอดเลือดนี้และบางรายมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย การอักเสบนี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังจากที่มีไข้ ไปแล้วระยะหนึ่ง มักจะตรวจพบได้ชัดในประมาณสัปดาห์ที่สองของไข้

การรักษา แม้ว่าเราจะไม่ทราบสาเหตุของไข้คาวาซากิ แต่เราสามารถที่จะให้การรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะมีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ ยามาตรฐานที่เราใช้คือการให้ภูมิคุ้มกัน (IVIG) ที่สกัดจากน้ำเหลืองของคนเราในปริมาณที่สูง หลังการรักษาส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเร็ว แม้ว่าไม่สามารถที่จะป้องกันปัญหาทางด้านหัวใจได้ทั้งหมดแต่ก็สามารถลดอุบัติการการโป่งพองของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ เด็กบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับ IVIG ซ้ำครั้งที่สอง ยาอื่นที่สำคัญคือการให้ยาแอสไพลินขนาดต่ำๆ เพื่อป้องกันการเกาะตัวของเกร็ดเลือดเนื่องจากการอักเสบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีร่วมกับในระยะหลังของโรคนี้จะมีปริมาณเกร็ดเลือดสูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดตรงบริเวณนี้มีโอกาสอุดตันได้ รายที่มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจแล้วจำเป็นต้องได้รับการติดตามดูแลระยะยาวโดยกุมารแพทย์โรคหัวใจอย่างใกล้ชิด

บทความโดย
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็ก

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper dermatitis) อาการแพ้สุดฮิตของเด็กแรก

ผื่นผ้าอ้อมมักเกิดขึ้นในเด็กช่วงอายุ และมาจากสาเหตุใด ?

มักพบในเด็กแรกเกิดที่ผิวบอบบางอาจเกิดการแพ้ได้ง่าย พบมากในวัยทารกโดยเฉพาะช่วงอายุ 9-12 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่ใส่ผ้าอ้อมบ่อย โดยสาเหตุการอักเสบจากการสัมผัสสารระคายเคืองทำให้เกิดผื่น (irritant contact dermatitis)     สาเหตุจากผิวหนังอ่อนแอและถูกทำลาย จากความชื้นการเสียดสีขณะใส่ผ้าอ้อม และจากเอนไซม์ต่างๆที่อยู่ในอุจจาระ (เช่น Lipase, Protease) จึงก่อให้เกิดเป็นผื่นแดงได้                                                                                                

อาการของผื่นผ้าอ้อม

ผื่นบวมแดง บริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับผ้าอ้อม เช่น แก้มก้น อวัยวะเพศด้านในของต้นขา ท้องน้อย กรณีพบว่าผื่นลามรุนแรงมากขึ้น จะอาจมีตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายแสบคันได้             

การป้องกันผื่นผ้าอ้อม

พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรดูแลผิวลูกน้อยให้แห้งอยู่เสมอ และทำความสะอาดผิวทุกครั้งหลังอุจจาระ และปัสสาวะ ด้วยน้ำเปล่า หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อนโยนต่อผิว และควรเลือกใช้ผ้าอ้อมที่ดูดซับดี มีขนาดเหมาะสมไม่รัดแน่นจนเกินไป

การรักษาอาการผื่นผ้าอ้อม

ใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบผิวที่เหมาะสม ช่วยเคลือบผิวป้องกันความชื้นจากปัสสาวะและอุจจาระ ลดการสูญเสียน้ำจากผิวเช่น zinc oxide, lanolin, dexpanthenol และหากผื่นมีความรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดอ่อนๆ เช่น 1% hydrocortisone ทาเช้าเย็นในระยะเวลาสั้นๆ (ไม่เกิน 1 สัปดาห์)  หรือยาทาเชื้อราร่วมด้วย

บทความโดย
พญ.กนกพร ศรีรัตนวงศ์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้