APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

วัคซีนพื้นฐานในเด็ก มีอะไรบ้าง? ฉีดได้ตอนไหน?

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก คือ วัคซีนที่เด็กๆ ทุกคนควรได้รับตั้งแต่แรกเกิดซึ่งวัคซีนที่จำเป็นแต่ละชนิดควรได้รับตามวัยของลูกน้อย เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานและป้องกันโรคภัยต่างๆ เพราะการฉีดวัคซีนจะช่วยสร้างภูมิต้านทานของโรคให้แก่เด็กในระยะยาว

เด็กแต่ละช่วงวัย ควรได้รับวัคซีนอะไรบ้าง ?

วัคซีนทารกแรกเกิด

  • วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG Vaccine) ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล
  • วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) เข็มที่ 1 โดยวัคซีนนี้จะฉีดภายใน 24 ชม.หลังเด็กเกิด

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 1 เดือน

  • วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) เข็มที่ 2

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน

  • วัคซีนรวม 5 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, วัคซีนโปลิโอ, วัคซีนฮิป โดยเข็มที่ 1 จะฉีดช่วงอายุ 2 เดือน และเข็มที่ 2 ในช่วงอายุ 4 เดือน
  • วัคซีนไวรัสโรต้า (RV) ป้องกันโรคท้องร่วง หยอดเข้าที่ปาก โดยครั้งที่ 1 จะให้ในเด็กอายุ 2 เดือน และครั้งที่ 2 จะให้ในอายุ 4 เดือน ทั้งนี้วัคซีนชนิดมีอยู่ 2 แบบ คือ ชนิดที่ให้ 2 ครั้ง และ ชนิดที่ให้ 3 ครั้ง
  • วัคซีนเสริม ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (IPD) โดยให้ครั้งที่ ในช่วงอายุ 2 เดือน และครั้งที่ 2 จะให้ในอายุ 4 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 6 เดือน

  • วัคซีนรวม 6 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, วัคซีนโปลิโอ, วัคซีนฮิป, วัคซีนตับอักเสบบี
  • วัคซีนโรต้า (RV) ป้องกันโรคท้องร่วง (สำหรับกรณีที่เลือกวัคซีนโรต้า ชนิดที่ให้ 3 ครั้ง)
  • วัคซีนเสริม ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (IPD) ครั้งที่ 3

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 9 – 12 เดือน

  • วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมันและคางทูม (MMR) เข็มที่ 1
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ป้องกันโณคไข้สมองอักเสบเจอี เข็มที่ 1
  • วัคซีนเสริม ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เข็มที่ 1 โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นแนะนำฉีดปีละครั้ง

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 12 – 15 เดือน
วัคซีนเสริมที่ควรได้รับ ได้แก่...

  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PVC) ป้องกันโรคปอดบวม เข็มที่ 4
  • วัคซีนอีสุกอีใส เข็มที่ 1
  • วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV) เข็มที่ 1 โดยวัคซีนนี้จะมีทั้งแบบ ชนิดมีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยวัคซีนที่มีชีวิตจะให้เพียง 1 เข็มเท่านั้น และวัคซีนที่ไม่มีชีวิตจะให้ 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 18 เดือน

  •  วัคซีนรวม 5 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, วัคซีนโปลิโอ, วัคซีนฮิป โดยเข็มที่ 4

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2 – 4 ปี

  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ป้องกันโณคไข้สมองอักเสบเจอี เข็มที่ 2 (แนะให้มีระยะห่างจากเข็มที่ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี)
  • วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมันและคางทูม (MMR) เข็มที่ 2
  • วัคซีนอีสุกอีใส เข็มที่ 2

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 4 – 6 ปี

  • วัคซีนรวม 4 โรค ได้แก่ วัคซีนคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, วัคซีนโปลิโอ เข็มที่ 5

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 11 – 12 ปี

          วัคซีนเสริมที่ควรได้รับ ได้แก่...

  • วัคซีนคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน (TdaP) กระตุ้นเข็มที่ 1 จากนั้นฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
  • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 - 14 ปี โดยจะฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน สำหรับวัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย เพราะในเด็กผู้ชายแม้ไม่ได้ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่จะช่วยป้องกันโรคหูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก

การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับวัคซีน

  • ควรนำสมุดบันทึกวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง
  • ไม่ควรรับวัคซีนขณะมีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ยกเว้นเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้สามารถรับวัคซีนได้
  • หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา แพ้อาหาร เช่น มีอาการแพ้แบบรุนแรง กรุณาแจ้งกุมารแพทย์ หรือพยาบาล

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ 1 ควรตรวจภูมิคุ้มกันหลังมีดวัคซีนตับอักเสบบีหรือไม่ แนะนําในกลุ่มไหน ?

ตอบ : ในเด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบปี หลังจากได้รับวัคซีนครบแล้ว แนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบี ที่อายุประมาณ 9-12 เดือน เพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีจริง และยืนยันว่าไม่ติดไวรัสชนิดด้วย

คำถามที่ 2 วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน มีอาการข้างเคียงที่สำคัญอย่างไร

ตอบ : อาการข้างเคียงที่สำคัญหลังฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ ไข้สูง ร้องกวน ตัวอ่อนปวกเปียก มักเกิดในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากคว้าเงิน หากใช้วัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์โอกาสเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้จะลดลง อาการทางสมองที่รุนแรง (encephalopathy) ที่เกิดขึ้นหลังจากฉีควัคซีนภายใน 7 วัน ถือเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโอกรบทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตามพบได้น้อยมาก ให้ใช้วัคซีนคอตีบ บาดทะยักแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้แบบรุนแรง ahabaliyasis) เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ทุกชนิด

คำถามที่ 3 ทำไมต้องฉีดวัคซีนโปลิโอตอนอายุ 4 เดือนร่วมกับหยอดโปลิโอด้วย

ตอบ : ปัจจุบันวัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV) มีส่วนประกอบเป็นเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ 1 และ 2 เท่านั้น ไม่มีเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ที่ 2 เนื่องจากไม่พบการระบาดของสายพันธุ์นี้ และคาดว่ากำจัดได้หมดแล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการระบาดใหม่ที่อาจพบได้จากเชื้อในธรรมชาติ จึงต้องรับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (PV) ที่มีทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งพบว่า เมื่อให้ IPV 1 เข็ม ที่อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี จึงแนะนำให้เด็กอายุ 4 เดือน ที่ รับวัคซีน OPV ต้องรับวัคซีน IPV ด้วย

คำถามที่ 4 วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ควรเริ่มให้อายุเท่าไหร่ กี่เข็ม

ตอบ : ปัจจุบันแนะนำให้เริ่มให้ MMR เข็มแรกที่อายุ 9 เดือน ถึง 1 ปี การที่รับวัคซีนก่อนหน้าเร็วเกินไป วัคซีนจะไม่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันแม่ที่ยังหลงเหลืออยู่ ขัดขวางการสร้างภูมิในตัวของเด็ก เข็มที่สองให้เมื่ออายุ 18 เดือน

คำถามที่ 5 วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ต่างจากชนิดเดิมอย่างไร ?

ตอบ : วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีปัจจุบัน ผลิตจากไวรัสที่อ่อนกำลังลง นำมาทดแทนวัคซีนเดิมที่ผลิตมาจากเชื้อตาย วัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่อ่อนกำลังต้องฉีด 2 เข็ม มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนเชื้อตายที่ต้องฉีด 3 เข็ม และอาจพบผลข้างเคียง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน ไข้ ปวดศีรษะ ลมพิษ หรือภาวะสมองอักเสบ เฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตามวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นนี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

คำถามที่ 6 วัคซีนเอชพีวี (HPV) สามารถให้ในเด็กชายได้หรือไม่

ตอบ : สามารถให้ได้ วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งที่ทวารหนักได้ แต่ปัจจุบันวัคซีนนี้ยังไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กชายไทย วัคซีนเอชพีวีชนิด 4 สายพันธุ์มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ และทวารหนักได้ด้วย

คำถามที่ 7 ถ้าได้รับวัคซีนไม่ครบ จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่หมดหรือไม่

ตอบ : ไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่ ให้ฉีดต่อจนครบ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้