ทริคดีๆ สอนลูกน้อยเข้าสังคม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ by นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
ความกังวลใจเรื่องลูกน้อยของพ่อๆแม่ๆ นอกจากปัญหาสุขภาพแล้ว ยุคนี้คงหนีไม่พ้น เรื่องการสอนลูกของเราเข้าสังคม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ รวมถึงปัญหาสุดหนักใจอย่างการรับมือ เรื่อง "การบูลลี่กันในเด็ก" ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตของเด็กได้ในระยะยาว โดยบทความนี้ คุณหมอท๊อฟฟี่ หรือ นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และผอ.รพ.แพทย์รังสิต จะพาคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทุกคน ทำความเข้าใจและเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ในการสอนลูกน้อยหรือบุตรหลานของเรา รวมถึงเป็นกำลังใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคน ในการหล่อหลอมลูกน้อยของเราในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างราบรื่บขึ้น
จริงๆแล้ว หลักการควรเริ่มจากการสอนให้ลูกเราเข้าใจ สำคัญที่สุด คือ ควรเริ่มจากการที่สอนให้ลูกของเรามีความเข้าใจตนเอง โดยเริ่มจาก....
การสอนให้เด็กเข้าสังคม
ช่วงเวลาที่ลูกของเราจะต้องเริ่มเข้าสังคมอย่างจริงจัง นั่นก็คือ ช่วงเวลาที่ลูกของเราเริ่มเข้าโรงเรียนนั่นเอง การเข้าสังคมจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ และการสังเกตของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการสนับสนุน และให้คำแนะนำ ตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น ระหว่างที่ลูกกำลังเล่นกับเพื่อน เป็นต้น
การบูลลี่ในเด็ก ปัจจุบันทำว่าเป็นปัญหาที่พบได้เรื่อยๆ ในหมู่เด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต การป้องกัน และการอบรมสั่งสอนเด็กนั้น พ่อแม่ควรเริ่มต้นจากการหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเด็กสม่ำเสมอ ในกรณีเด็กถูกกลั่นแกล้ง อาจส่งผลทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าไม่อยากเข้าสังคม หรือที่เรียกว่า Social withdrawal มีการเก็บตัว แยกตัวเองออกจากสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและสภาพจิตใจของเด็กในระยะยาว
รับมืออย่างไร? เมื่อลูกถูกแกล้ง
การรับมือนั้น หลังจากที่เราสอนให้เด็กเรียนรู้ความรู้สึก ความคิดตนเองแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการและมีความเข้าใจมากขึ้น พ่อแม่ควรสนับสนุนและสั่งสอนเด็กสม่ำเสมอ เมื่อเด็กถูกแกล้ง ให้เด็กรู้วิธีการรับมือ การหยุดเหตุการณ์นั้นผ่านการสื่อสารทั้งคำพูดและการสื่อสารทางด้านร่างกาย เช่น การรายงานคุณครู การบอกเพื่อว่าให้หยุดการกระทำนั้น เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ปัญหาสองด้านที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรพึงระลึกถึง คือ ด้านแรก กลุ่มอาการออทิสติก แม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ลูกชอบเล่นคนเดียว การไม่เข้าสังคม รวมถึงการอยากเข้าสังคม แต่ไม่รู้วิธีการเข้าหา ส่วนด้านที่สอง คือ ปัญหาด้าน Social phobia หรือการกลัวการเข้าสังคม ซึ่งลักษณะเด็กเหล่านี้จะมีความขี้อาย เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นปัญหาไหน ในสองด้านนี้ อาจส่งผลต่อการเข้าสังคมลูกน้อยของเราได้ ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองนำลูกหรือบุตร เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการประเมิน รวมถึงเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ชำนาญการในการเลี้ยงดูบุตรหลาน
รับชม Video เพิ่มเติม :
ออทิสติกเทียม คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมองจนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยมีสาเหตุหลักๆ จากการเลี้ยงดู หรือขาดการดูแล การละเล่นที่เหมาะสม เช่น การเล่นมือถือ หรือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดได้จากการกระตุ้นพัฒนาการเชิงภาษาและสังคมไม่เพียงพอ
ออทิสติกแท้กับเทียม ต่างกันมากน้อยแค่ไหน ?
ออทิสติกแท้ จะเป็นกลุ่มโรค ที่ความผิดปกติของสมองจนส่งผลต่อพัฒนาการ แต่ออทิสติกเทียมนั้นไม่ใช่โรค แต่มักจะมีประวัติปัญหาการเลี้ยงดู ไม่ได้มาจากพันธุกรรมเหมือนกับออทิสติกแท้ กรณีออทิสติกเทียมหากรู้ทัน และปรับแก้ จะหายได้เร็วต่างกับออทิสติกแท้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่า
อาการที่พ่อๆแม่ๆ หรือผู้ปกครองควรสังเกต
การรักษา หรือการพบจิตแพทย์จำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากปัญหาออทิสติกต้องแข่งกับเวลา ยิ่งในเด็กเล็ก หากรู้ทันและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ของการรักษาหรือแก้ไข จะได้ผลดีกว่ามาก ไม่ว่าจะออทิสติกแท้หรือเทียม นอกจากนี้การที่แนวทางการเลี้ยงดูบุตร รวมถึงการกระตุ้นพัตนาการ เป็นสิ่งจำเป็นหลักในการรักษาออทิสติกอย่างยิ่ง
สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่า ภาวะออทิสติกเทียมเอง อาจจะมีภาวะออทิสติดแท้ซ่อนปนอยู่ด้วยเล็กน้อยอยู่เดิม พอเกิดปัจจัยทางการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมมากระตุ้น จึงทำให้อาการออทิสติก เห็นได้ชัดขึ้นครับ เนื่องจากการเล่นโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต รวมถึงการละเลยไม่กระตุ้นพัตนาการลูกรัก อาจไม่ได้ทำให้เกิดภาวะออทิสติกเทียม หรือ ปัญหาทางด้านพัตนาการในเด็กทุก ๆ รายก็ได้ ดังนั้นหากผู้ปกครองท่านใดมีความสงสัยเรื่องพัฒนาการอันสมควรตามวัยของลูก แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อประเมินและปรึกษาอาการกับแพทย์เฉพาะทางครับ
บทความโดย
นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
จิตแพทย์ด้านเด็กและวัยรุ่น และผอ.รพ.แพทย์รังสิต
ข้อมูลเพิ่มเติม :
ซนตามวัย ซนแบบไหนถึงเรียกว่าตามวัย ?
โดยปกติแล้วเด็กก่อนอายุ 6 ขวบ จะใช้การเล่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ และยังมีมุมมองความเข้าใจโดยยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่ทั้งนี้หากพฤติกรรมการเล่นนั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บทางร่างกาย และไม่สามารถควบคุมจัดการพฤติกรรมนั้นได้ อาจตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสมาธิสั้นได้
โดยทั่วไปแล้ว มักพบใน 5-8 เปอร์เซ็นต์ในเด็ก และ 2.5เปอร์เซ็นต์ในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กผู้ชาย มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง และเด็กผู้หญิงมักมีอาการขาดสมาธิ โดยพฤติกรรมของกลุ่มอาการสมาธิสั้นจะก่อให้เกิดปัญหาที่บ้าน ที่โรงเรียน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
กลุ่มอาการ สมาธิสั้น แยกได้อย่างไรบ้าง?
ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะสมาธิสั้น
การวินิจฉัย"สมาธิสั้น"
การรักษา"สมาธิสั้น"
การป้องกันภาวะสมาธิสั้น
บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์
ทำความรู้จักเกี่ยวกับ"โรคสมาธิสั้น" เพิ่มเติม :
เคล็ดลับดีๆ เลี้ยงอย่างไร ให้ห่างไกล"สมาธิสั้น" โดย นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
โรคสมาธิสั้น คืออะไร?
โรคสมาธิสั้น เกิดจากปัญหาการเสียสมดุลของการทํางานและสารเคมีของสมองส่วนหน้า ส่งผลทําให้เกิดอาการสมาธิสั้นไม่สามารถทําอะไรนานนานได้ มักมีอาการ วอกแวกง่าย ซน นั่งนิ่งนิ่งไม่ค่อยได้ ชอบปีนป่าย หุนหันพันแล่น จะหงุดหงิดง่าย ใจร้อนไม่ชอบรอคอย พูดเยอะพูดแทรก อาการเหล่านี้จะเป็นกลุ่มอาการ ไม่ใช่อาการเดี่ยวๆ เวลามีอาการมักจะมีหลายหลายอย่างรวมกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ หรอผู้ปกครองไม่ต้องตกใจว่าทําไมมีอาการเยอะจัง เพราะเวลาเราแก้อาการสมาธิสั้น เราจะแก้จุดเดียวมันก็จะแก้ได้ทั้งหมด
สาเหตุของเกิดโรคสมาธิสั้น
จริงๆแล้ว มีหลายสาเหตุมารวมกันส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ ไม่ว่าตั้งแต่พันธุกรรมนะครับ นอกจากนั้นก็คือ ปัจจัยระหว่างมารดาตั้งครรภ์ ความเจ็บป่วยของมารดา การใช้เหล้าบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดเองก็มีผลเช่นกันไม่ว่าจะเป็นคลอดก่อนกําหนด เด็กเกิดมาแล้วมีตัวเหลืองหรือว่าระหว่างคลอดมามีการขาดออกซิเจน เด็กตัวเขียว เหล่านี้ก็ส่งผลได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยหลังคลอด คือ การเลี้ยงดู การที่คุณพ่อคุณแม่เองนะครับ ไม่ได้ฝึกระเบียบหรือว่าให้การตามใจมากเกินไป รวมถึงการเป็นต้นแบบนะครับ
และเนื่องจากเป็นยุคของดิจิทัล คือ การใช้อินเทอร์เน็ตมีปริมาณมาก ถ้าเกิดคุณพ่อคุณแม่ไม่จํากัดเวลา หรือว่าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด อาจจะส่งผลทําให้เด็กเป็นสมาธิสั้นได้ ในรายที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้ว อาการสมาธิสั้นจะแย่ลงทันที ดังนั้นหมอแนะนำให้เด็กเล่นแบบสมัยก่อน เช่น เล่นกับธรรมชาติ เล่นของเล่นแบบทั่วไป รวมถึงว่าการให้เวลาของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูก
นอกจากนี้ อาจเกิดจากปัญหาทางกาย เช่น โรคไทรอยด์นะ โรคซีด โรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงอาการภูมิแพ้ อาการปอดบวม โรคหอบหืด ก็ส่งผลทําให้มีอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบเห็นบุตรหลาน เริ่มแสดงอาการสมาธิสั้น ควรมาตรวจประเมินและรักษานะครับเพราะว่าบางครั้งเนี้ยอาจจะเป็นโรคทางกายซึ่งถ้าเราปล่อยไว้นานก็อาจจะมีผลทําให้อาการแย่ลงได้
เตรียมความพร้อมลูกน้อยก่อนเข้าเรียน ทั้งวัยอนุบาล และประถม
ก่อนเปิดภาคเรียน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองหลายๆ ท่านมักมีความกังวลเรื่องการเตรียมตัวลูกน้อย หรือบุตรหลานของเราก่อนเข้าเรียน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลใจด้านการเข้าสังคม การปรับตัว การเรียน หรือพัฒนาการของเด็กเอง วันนี้คุณหมอจึงอยากนำสาระดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง เพื่อใช้เป็นแนวคิด หรือแนวทางปฏิบัติก่อนส่งลูกน้อยเข้าโรงเรียน
เมื่อไหร่ควรส่งลูกไปเรียน ?
สิ่งที่ต้องฝึกฝนเตรียมลูกก่อนไปโรงเรียน
คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน (วัยอนุบาล)
คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน (วัยประถม)
เนื่องจากประถมเป็นวัยที่เข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาการพร้อมทุกด้านทั้งด้านการสื่อสาร การเคลื่อนไหว การช่วยเหลือตนเอง การควบคุมอารมณ์และ เรียนรู้รอบด้าน ดังนั้นการเข้าโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เด็กที่ปรับตัวเข้ากับครูและเพื่อนได้ ทำตามคำสั่งของคุณครูได้จะมีโอกาสที่จะเรียนรู้ได้ดี อยู่ร่วมกับเพื่อนคนอื่นภายใต้กฎระเบียบที่โรงเรียนกำหนด
ดังนั้นการเตรียมเด็กให้พร้อมเข้าโรงเรียนจึงมีความสำคัญครูและพ่อแม่จะต้องช่วยฝึกฝนให้เป็นไปในทิศเดียวกันและต้องเข้าใจความรู้สึกของเด็กให้กำลังใจและคอยสนับสนุนให้เด็กได้เติบโตและปรับตนเองเพื่อเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ มีความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น เด็กจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและทำกิจกรรมนอกบ้านนานขึ้น อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนจะเริ่มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กทั้งเชิงบวกและลบ เช่นนี้แล้ว...สำหรับเด็กประถม หมอขอแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนดังนี้ค่ะ
บทความโดย
พญ.วรรณวรา อังศุมาศ
โรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน (Seperation anxiety disorder, SAD) เพราะการแยกจากกันไม่ใช่เรื่องง่าย
ความวิตกกังวลจากการแยกจากกันเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็กช่วงอายุ 18 เดือนถึง 3 ปี แต่หากอาการของความวิตกกังวลนั้นรุนแรงและเป็นเรื้อรังนานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจจะต้องนึกถึงโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน เนื่องจากเป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก พบประมาณ 1-4% ของเด็ก อายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการคือ อายุ 7 ปี ยังไม่มีการศึกษาความชุกของผู้ใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน
เด็กที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากจะมีความรู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวลเมื่อต้อง อยู่ห่างจากบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งมักจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ดูแลคนอื่นๆ ในเด็กบางคนอาจมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัวหรือปวดท้อง อาการมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแยกจากหรือเมื่อคิดว่าต้องแยกทางกัน เพราะเด็กกังวลว่าอาจจะมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลหากเด็กจากไป เด็กที่ยังเล็กมากอาจไม่สามารถระบุความคิดที่น่ากลัวได้) ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมต่างๆตามมา เช่น ....
พฤติกรรมดังยกตัวอย่างไป อาจทำให้เด็กพลาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอาการจะลดลงทีละน้อยเมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตามลำดับ แต่ความวิตกกังวลจากการพลัดพรากสามารถดำเนินไปในวัยผู้ใหญ่ได้ และในบางรายอาจเริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ซึ่งอาจเกิดตามมาภายหลังจากเผชิญเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสียบุคคอันนี้เป็นที่รัก เข่น การเสียชีวิตหรือการหย่าร้าง เป็นต้น
สาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน อาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ พื้นอารมณ์ของเด็กที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น มีพื้นอารมณ์เดิมปรับตัวยากหรือปรับตัวช้า ปัจจัยทางจิตใจและสิ่งแวดล้อม เข่น การตายของสมาชิกในครอบครัว การย้ายบ้านหรือเปลี่ยนโรงเรียน การถูกเลี้ยงดูในลักษณะปกป้องหรือประคบประหงมมากเกินไป สมาชิกในครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือความผิดปกติทางจิตอื่นๆ การที่เด็กไม่สามารถสร้างความผูกพันที่มั่นคงปลอดภัยกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลได้ เป็นต้น ซึ่งเด็กที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน ยังสามารถพบโรคร่วมอื่นๆได้อีก เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคซึมเศร้า
การช่วยเหลือและการรักษาจึงมีความสำคัญ เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆที่จะพบตามมา ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำและให้การบำบัดปรับพฤติกรรมเพิ่อช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีจัดการกับความวิตกกังวลของตนได้ดีขึ้น มีการให้คำแนะนำผู้ดูแลเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลของเด็กได้ ช่วยให้ผู้ปกครองมีวิธีสร้างความผูกพันมั่นคงทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยแม้เวลาที่ต้องแยกจากกัน นอกจากนี้ยังมีการให้ยาลดความวิตกกังวลซึ่งอาจช่วยให้เด็กบางคนรู้สึกสงบขึ้น และการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับทางโรงเรียนเพื่อโรงเรียนจะสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กต่อไป
บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์
เด็กแอลดี
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งได้ความบกพร่องได้ดังนี้
หลักการสังเกตเด็กที่สงสัยว่าเป็น “แอลดี”
“วัยอนุบาล” มีข้อสังเกตได้ดังนี้
“วัยประถมศึกษา” มีข้อสังเกตดังนี้
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ ที่เอาไว้สังเกตลูกๆของเรา ว่าอยู่ในอาการที่จะเป็นเด็กพิเศษหรือไม่ และสำหรับท่านใดที่มีความกังวล อย่ากลัวหรืออายที่จะเข้ารับคำปรึกษาจากหมอ เพราะยิ่งทราบเร็วก็ทำให้เข้ารับการดูแลได้เร็ว เพื่อพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อย โดยอยากให้เข้าใจว่า “เด็กทุกๆ คน มีโอกาสได้รับการพัฒนา และเด็กทุกคนมีจุดแข็งของตนเอง การแก้ไขปัญหา และการเข้ารับการดูแลรักษา การพบแพทย์นั้นเป็นเพียงการลดจุดอ่อนของลูก และเป็นการทำให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาของตนเองแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการดีกว่าปล่อยให้ลูกหงุดหงิดกับตัวเอง และรู้สึกแย่กับตนเองลงไปเรื่อยๆ
เรียนรู้พัฒนาการที่สมวัยของน้องๆ อายุแรกเกิด –3 ปีกันเถอะ
พัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - 3 ปีนั้น จะมีการเติบโตทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว
คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้ที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะเรียนรู้ และเลียนแบบ รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา จึงเป็นการสะท้อนถึงการให้ความรัก การเอาใจใส่ การสังเกต และการพยายามทำความเข้าใจสัญญาณที่เด็กส่งออกมาผ่านการร้องและการเคลื่อนไหว เพื่อให้คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูตอบสนองความต้องการอย่างถูกต้อง เมื่อคุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงแสดงออกซ้ำๆ จนทำให้เด็กมีความสุขและพึงพอใจ จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจ และการไว้วางใจต่อไป
การสังเกตพัฒนาการของลูกน้อย ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่ รวมถึงผู้เลี้ยงต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
อายุ 1 เดือน
พัฒนาการ :
- มองจ้องหน้าคุณแม่แล้วยิ้ม
- ยกศีรษะได้บ้าง
- ส่งเสียงอ้อ อา
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- อุ้มชู พูดคุยกับเด็ก
- ของเล่นที่เน้นเรื่องเสียง , สี , การเคลื่อนไหว เช่น โมบายดนตรี
อายุ 2 เดือน
พัฒนาการ :
- หันตามเสียงได้
- มองตามถึงกึ่งกลางลำตัว
- ยิ้ม , สบตาคุย , ส่งเสียงอ้อ อา
- ชันคอได้มากขึ้น
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ให้เด็กนอนหงาย ก้มหน้าไปพูดคุยใกล้ๆ เด็ก โดยห่างจากหน้าเด็กประมาณ 20 ซม.
- เรียกชื่อเด็ก เมื่อเด็กสนใจมอง ให้เอียงหน้าไปด้านข้างลำตัวเด็กช้าๆ เพื่อให้เด็กมองตาม
- ใช้ของเล่นมีเสียง สีสันสดใส กระตุ้นให้เด็กสนใจ และมองตาม
อายุ 3 - 4 เดือน
พัฒนาการ :
- พลิกคว่ำได้
- ก้มได้
- มองตามจากซ้ายไปขวาได้ 180 องศา
- ยิ้ม ทักทายส่งเสียงโต้ตอบหัวเราะเสียงดัง
- ชันคอได้ดี
- พยายามคว้าจับของเล่น
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ในเด็กนอนหงาย ก้มหน้าไปพูดด้วยระยะ 30 ซม. เรียกชื่อเด็กให้หันมองแล้วค่อยๆ เคลื่อนหน้าคุณพ่อ-คุณแม่ช้าๆ จากซ้ายไปขวา
- เขย่าของเล่น ขยับไปซ้าย ขวาให้เด็กมองตาม
- พูดคุย สัมผัสกับเด็ก
- กระตุ้นให้ยิ้มให้กับคนคุ้นเคย
- กระตุ้นให้เด็กฝึกจับกำของเล่น
อายุ 5 - 6 เดือน
พัฒนาการ :
- พลิกคว่ำและหงายได้
- จับของเปลี่ยนมือได้
- หยิบของเข้าปาก
- เมื่อนอนหงายดึงมือขึ้น จะสามารถชันคอได้
- เริ่มรู้จักแปลกหน้า
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ให้เด็กนั่ง พยุงตัวเด็ก พูดคุยและเล่นกับเด็ก
- ใช้ริมฝีปากทำเสียง จุ๊บจุ๊บ กระตุ้นการออกเสียงวาวา
- ร้องเพลงให้เด็กฟัง
- ให้ใช้มือหยิบและเขย่าของเล่น
อายุ 7 - 8 เดือน
พัฒนาการ :
- นั่งเองโดยไม่ต้องมีคนประคอง
- ยืนเกาะเครื่องเรือนสูงระดับอกได้
- หันตามเสียงเรียกชื่อ
- เล่นจ๊ะเอ๋ได้
- เลียนเสียงพูดคุย
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- กระตุ้นให้เด็กนั่งเอง วางของไว้ด้านหน้าและเยื้องไปด้านหลัง ให้เด็กเอียงตัวหยิบ
- กระตุ้นให้เด็กยืนเกาะเครื่องเรือนเอง
- เปิดเพลงให้เต้นตามจังหวะเพลง
- เรียกชื่อเด็กบ่อยๆ
- พูดคุยออกเสียงตามทำนองเพลง ให้เด็กทำเสียงตาม
- เล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก
อายุ 9 เดือน
พัฒนาการ :
- กลัวคนแปลกหน้า
- นั่งตัวตรงได้
- เกาะยืน
- ลุกจากที่นอนได้
- ทิ้งของลงพื้นแล้วมองตาม
- โบกมือ ตบมือ
- ติดแม่
- เลียนเสียงคำพูด
- รู้จักปฏิเสธโดยใช้ท่าทาง
- ใช้มือหยิบอาหารทานได้
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- จัดให้เด็กเกาะเครื่องเรือน
- เล่นกับเด็กโดยใช้คำสั่งง่ายๆ เช่น โบกมือ ตบมือ
- เปลี่ยนเสียงที่เด็กทำได้แล้ว เช่น ป๊ะ จ๊ะ จ๋า
- วางอาหารตรงหน้าเด็ก จับมือเด็กหยิบอาหารใส่ปาก
อายุ 10 - 12 เดือน
พัฒนาการ :
- ยืนนาน 2 นาที (ตั้งไข่)
- จีบนิ้ว หยิบของชิ้นเล็กๆได้
- โบกมือ ตบมือ ตามคำสั่ง
- แสดงความต้องการโดยการทำท่าทาง หรือเปล่งเสียง
- หยิบของใส่ถ้วย
- ให้ของเวลาขอ
- เรียกพ่อ แม่
- พูดเป็นคำๆ 3-4 คำ
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ทำอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้เด็กฝึกใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้หยิบ
- เล่นกับเด็กโดยใช้คำสั่งให้โบกมือ ตบมือ
- พยุงให้เด็กยืนแล้วจับข้อมือเด็กค่อยๆ ปล่อยจนยืนเองได้นานมากขึ้น
อายุ 13 - 15 เดือน
พัฒนาการ :
- ขีดเขียนเป็นเส้นบนกระดาษ
- พูดคำพยางค์เดียวได้มากขึ้น
- บอกชื่อสิ่งของได้ 4-5 อย่าง
- ต่อชั้นไม้ได้ 2 ชั้น
- เดินกล่อง
- ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
- เลียนแบบท่าทางการทำงานบ้าน
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ให้ใช้ดินสอแท่งใหญ่ๆ หัดเขียน
- ฝึกสอนให้รู้จักวัตถุให้ชี้บอกได้
- สอนให้เด็กพูดคำสั้นๆ ในเหตุการณ์จริง เช่น ก่อนป้อนข้าวพูด "หม่ำ"
- อ่านนิทานให้ฟัง
- หาอุปกรณ์ที่เหมาะกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วม ทำงานบ้านหากทำได้ให้ชมเชย
อายุ 1 ปี 6 เดือน
พัฒนาการ :
- วิ่งได้คล่อง
- เปิดหน้าหนังสือ
- ต่อก้อนไม้สองชิ้น
- รู้จักวัตถุ เช่น ตุ๊กตา บอล รถ
- ชี้อวัยวะได้ 1 ส่วน
- พูดเลียนเสียงคำสุดท้ายของคำพูด
- ดื่มน้ำจากแก้ว
- กินเองได้
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ฝึกขับถ่าย
- หัดแปรงฟัน
- ร้องเพลง เล่นเกมส์ง่ายๆ
- ของเล่นใช้มือ
- สอนระเบียบวินัย
- ชมเชยเมื่อพฤติกรรมพึงประสงค์
- ให้ช่วยแต่งตัว
- สอนสวัสดี ธุจ้า
- อ่านหนังสือ ฝึกพูดคำตามรูปภาพ
อายุ 2 ปี
พัฒนาการ :
- พูดสองคำติดกัน
- ใช้ช้อนตักอาหารกินได้
- กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้งสองข้าง
- ชี้อวัยวะ7ส่วน
- พูดตอบรับปฏิเสธได้
- ต่อก้อนไม้ 4 ก้อน
- เตะลูกบอลได้
- ล้างมือเองได้
- บอกถ่ายอุจจาระได้ทุกครั้ง
- บอกถ่ายปัสสาวะได้บางครั้ง
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- พูดสองคำให้เด็กฟังบ่อยๆ อย่างเช่น ไปนอน
- ร้องเพลงแล้วเว้นวรรคให้เด็กร้องต่อ
- หัดให้ทานอาหารเอง
- จับมือเด็กฝึกกระโดดจากบันไดขั้นที่ติดกับพื้น
- ฝึกกระดดที่พื้น
- ฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง
- สอนอวัยวะต่างๆ
อายุ 2 ปี 6 เดือน
พัฒนาการ :
- กระโดดสองขา
- ขว้างลูกบอล
- กระโดดข้ามเชือกไปข้างหน้าได้
- สนใจฟังนิทาน 5 นาที
- พูดติดต่อกัน 2 คำขึ้นไปอย่างมีความหมาย
- บอกชื่อสัตว์ได้
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- พูดคุยรับฟังเด็ก
- อ่านนิทานให้ฟัง
- ร้องเพลงกับเด็ก
- ขว้างลูกบอลให้เด็กดู
- สอนให้รู้จักข้างบนข้างล่าง
อายุ 3 ปี
พัฒนาการ :
- วาดวงกลมได้
- ทำตามสั่งต่อเนื่องได้ 2 กิริยากับวัตถุ 2 ชนิด
- ช่วยตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน
- มีการแสดงออกทางอารมณ์
- ยืนขาเดียว 1 วินาที
- พูดติดกัน 3-4 คำ
- บอกคามต้องการได้
- ใส่กางเกงเองได้
- บอกชื่อตัวเองได้ พูดเป็นประโยค
วิธีช่วยส่งเสริมพัฒนาการ :
- ฝึกวาดวงกลม
- ฝึกใส่กางเกงเอง
- อ่านนิทาน ถามคำถามง่ายๆ
- พูดคุย ร้องเพลง
- ฝึกยืนขาเดียว
- ฝึกทำกิจวัตรประจำวัน
พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจแตกต่างได้บ้างเล็กน้อย ไม่ต้องทำได้ตรงเป๊ะตามวัยก็ได้ แต่หากคุณพ่อ-คุณแม่สงสัย หรือไม่แน่ใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อย สามารถพาน้องเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะที่โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิตได้เลยนะคะ
เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความฉลาดครบทั้ง 7 ด้าน (7Q ที่ควรรู้)
คุณพ่อ-คุณแม่หลายท่าน น่าจะเคยได้ยินคำว่า IQ , EQ กันมาบ้างแล้ว แต่ลูกน้อย ควรจะมีอีก 5Q ที่จะทำให้ลูกของเราฉลาดครบทั้ง 7 ด้าน
1. IQ (Intelligence Quotient) คือ ความฉลาดทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคำนวณ การเชื่อมโยง การใช้เหตุผล ปัจจัยที่มีผลต่อ IQ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ คือ พันธุกรรม ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การฝึกฝนทำแบบฝึกหัด โภชนาการที่ดี สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่างจาก Q อื่นๆ ที่ควบคุมได้ง่ายกว่าเพราะเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูโดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยยืนยันว่า IQ ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต 20% เท่านั้น
2. EQ (Emotional Quotient) คือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ตัวเองและผู้อื่น รู้จักกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม สถานการณ์รอบข้างได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือล้น มีแรงจูงใจอยากประสบความสำเร็จ เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเรื่องที่น่ายินดี คือ EQ สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นได้ คนส่วนใหญ่พอพูดถึง EQ ก็มักจะเน้นไปในด้านทำให้เด็กอารมณ์ดี ซึ่งจริงๆ มีมากกว่านั้น การสร้าง EQ ให้เด็กนั้น รวมถึงการปลูกฝังกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยให้ลูกด้วย รู้จักควบคุมลูกไม่ตามใจในเรื่องที่ผิด ซึ่งเราพบว่าเด็กที่พ่อแม่สอนเรื่องระเบียนวินัยดีๆ มักเป็นเด็กที่ EQ ดีตามมาด้วย
3. CQ (Creativity Quotient) เรื่อง Creative thinking นี้ เป็นที่พูดถึงกันมาก เราต้องการเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ หรือแนวคิดใหม่ๆ เช่น การเล่น งานศิลปะ การประดิษฐ์คิดค้น ซึ่ง CQ นี้สัมพันธ์กับการเล่น เราสามารถช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ได้ ถ้าเราให้โอกาสเขาเล่นอย่างอิสระ ส่งเสริมการเล่นที่ใช้จินตนาการ เช่น ทำศิลปะ การหยิบจับของใกล้ตัวมาเป็นของเล่น การเล่านิทานแล้วให้เด็กต่อเติมเรื่องเอง
4. MQ (Moral Quotient) คือ ความสามารถทางศีลธรรม จริยธรรม คือ มีความประพฤติดี รู้จักรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ การเลี้ยงลูกให้มี MQ นั้น สำคัญมาก ถ้ามี IQ , EQ สูง แต่ระดับคุณธรรม จริยธรรมต่ำ ก็อาจใช้ความฉลาดไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ ซึ่ง MQ นั้นปลูกฝังได้ไม่ยาก เพราะแต่ละศาสนาล้วนมีคำสอนเพื่อให้เป็นคนดีทั้งนั้น การนำเอาคำสอนของศาสนาที่ครอบครัวนั้นถือ มาปลูกฝังให้กับเด็กตั้งแต่แรกๆ และที่สำคัญการบอกด้วยคำพูดอย่างเดียวนั้นไม่ได้ พ่อแม่ต้องทำให้เด็กเห็นอย่างสม่ำเสมอด้วยจึงจะได้ผล
5. PQ (Play Quotient) คือ ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น เกิดจากความคิดที่ว่าการเรียนรู้ต่างๆ เริ่มจากการเล่น และการเล่นสามารถพัฒนาทักษะความสามารถเด็กได้หลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ จึงอยากให้คุณพ่อ-คุณแม่เล่นกับลูกมากๆ ทั้งให้ขี่คอ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนหา เล่านิทานให้ฟัง ย้ำอีกครั้งว่าของเล่นที่ดีกับลูกที่สุดก็คือ คุณพ่อ-คุณแม่นั่นเอง
6. AQ (Adversity Quotient) คือ ความฉลาดในการแก้ปัญหา เอาชนะอุปสรรค ความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ มีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี และพยายามเอาชนะความยากลำบากด้วยตัวเอง ดังนั้น วิธีการฝึก AQ คุณพ่อ-คุณแม่ต้องให้โอกาสเด็กๆ เผชิญกับปัญหาและหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเองตั้งแต่เล็ก
7. SQ (Social Quotient) คือ ความฉลาดทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ปรับตัวเข้าหาผู้อื่นได้ วิธีการฝึก SQ คือ พยายามให้เด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือฝึกทำงานกับเพื่อน คบเพื่อนหลากหลาย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะการปรับตัวได้ง่ายขึ้น
หลังจากที่คุณพ่อ คุณแม่ได้รู้จัก 7Q กันแล้วก็จะเห็นว่าทักษะทั้ง 7 ด้านนั้นสำคัญพอๆ กัน เราต้องช่วยกันเสริมทุกด้านให้ครบทั้ง 7Q เพื่อที่ลูกๆ ของเราจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ระเบิดความโกรธ ปัญหาที่พ่อ-แม่ ต้องรีบแก้ไข โดย พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
พฤติกรรมก่อกวนของเด็ก อาการที่เด็กหงุดหงิดและโมโหง่ายเกิดจากอะไร? มีวิธีดูแลอย่างไร? เพราะอะไรเราจึงควรให้ความสนใจและทำความเข้าใจ เนื่องจากพฤติกรรมก่อกวนหลายอย่างมักแสดงออกเป็นรูปแบบความโกรธ ความหงุดหงิด ซึ่งล้วนเป็นอาการหลักของโรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) และพฤติกรรมเกเรก้าวร้าวรุนแรง (Conduct disorder) อย่างไรก็ตามเด็กที่มีความผิดปกติทางจิตเวชอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก่อกวน โกรธและก้าวร้าวมากขึ้นเช่นกัน
จากการศึกษางานวิจัยพบว่าอัตราความชุกของพฤติกรรมก่อกวนมีตั้งแต่ 14 - 35% โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นพบความชุกมากขึ้นเป็น 14 - 62% ในเด็กที่มีความวิตกกังวลพบความชุก 9 - 45%
แต่อย่างไรก็ตาม ความโกรธเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ตามธรรมชาติ แม้ความโกรธเป็นสภาวะที่ช่วยเพิ่มความตื่นตัวทางสรีรวิทยาให้มากขึ้น แต่ความโกรธมักทำให้เกิดความคิดตำหนิต่อว่าตนเองหรือผู้อื่นตามมา เพราะความโกรธเกิดจากความคับข้องใจ หรือจากการถูกยั่วยุจากผู้อื่น ความโกรธสามารถอยู่ได้นานจากนาทีเป็นชั่วโมง และจากระดับรำคาญเล็กน้อยไปจนถึงระดับโกรธมาก พฤติกรรมการร้องไห้ กระทืบ ผลัก ตี และ เตะ เป็นเรื่องปกติในเด็กอายุ 1-4 ปี และมีความถี่ตั้งแต่ 5-9 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 5-10 นาที แต่ความรุนแรงและความถี่ของการโกรธมีแนวโน้มลดลงเมื่อเด็กค่อยๆ เติบโตและมีอายุค่อยๆ เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้การระเบิดความโกรธที่รุนแรง และควบคุมความโกรธไม่ได้ เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข เพื่อช่วยให้เด็กมีทักษะการควบคุมอารมณ์ และมีทักษะในการรับมือกับความโกรธและความคับข้องใจได้
วิธีที่สามารถใช้ในการจัดการกับความโกรธ ได้แก่...
การอนุญาตให้ตัวเองระบุความรู้สึกของตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมา จะช่วยเปลี่ยนความโกรธเป็นความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ควบคู่ไปกับการควบคุมตนเองได้ การรับมือกับความโกรธไม่ใช่เรื่องง่าย และการควบคุมความโกรธเป็นสิ่งที่ต้องค่อย ๆ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มันอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดความรู้สึกโกรธออกไปทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมความโกรธไม่ให้ความโกรธครอบงำเรา
สามารถติดต่อนัดหมาย หรือรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ได้ที่ โรงพยาบาลเฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต หรือ ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-998-9888 ต่อ 3216 , 3217 ได้ในเวลา 08.00-20.00 น.
บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์
"ความหวังดีของแม่ บางทีอาจจะเป็นตัวกระตุ้นอาการของลูก"
บทสัมภาษณ์คุณแม่ของผู้ป่วยสุขภาพใจ โดย พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
จุดเริ่มต้นของการมาพบแพทย์
คุณแม่ : ตอนน้องอายุได้ประมาณ 2 ขวบกว่าๆ แม่มีความรู้สึกว่าน้องไม่เหมือนเด็กคนอื่น ด้วยความที่แม่จบพยาบาลมา ทำให้พอมีความรู้ด้านนี้บ้าง บวกกับคุณแม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องสมาธิสั้น ก็เลยรู้สึกว่าน้องผิดปกติ
พอพาน้องไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นแบบนิ่ง คือน้องจะนิ่ง ให้นั่งตรงไหนก็นั่ง ไม่ไปไหน พอหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ก็ได้รักษาน้องอยู่ประมาณ 1 ปี
หลังจากที่ย้ายบ้าน ตอนน้องเรียนอนุบาล 3 อาการดูปกติทุกอย่าง มองไม่ออกเลยว่าผิดปกติ จนกระทั่งเข้าเรียนประถม 1-3 ผลการเรียนเริ่มไม่ดี เรียนไม่เข้าใจ เข้าใจยาก
พอเรียนประถม 5-6 คุณแม่ก็เลยพาไปหาหมอจิตเวช ด้วยเรื่องผลการเรียนของน้อง และสงสัยว่าน้องจะเป็นโรคการเรียนรู้บกพร่อง learning disorder (LD) คุณหมอให้เลยยามาทานรักษา ในตอนนี้ทดสอบ IQ น้องได้ประมาณ 100
ช่วงมัธยม 1-2 ผลการเรียนของน้องเริ่มดีขึ้น เพราะคุณแม่ช่วยย่อ และติวให้ คุณหมอเลยให้ลองหยุดยาดู
พอช่วงมัธยมปลาย เริ่มมีอาการเดิม คือ ผลการเรียนไม่ดี ไม่อยากคิด ก็เลยพาไปหาคุณหมออีกครั้ง และได้ทดสอบ IQ อีกครั้งตอนที่เข้ามหาวิทยาลัย ปีที่ 1 ได้ผลออกมาไม่ถึง 90
อาการของน้องเริ่มมาหนักช่วงที่อยู่มหาวิทยาลัย มีอาการกังวลเรื่องรับน้อง การสอบ การเรียน ทำให้น้องวิตกกังวลมาก ร้องไห้ไม่หยุด พูดแต่เรื่องอดีต บอกว่าแม่ไม่รัก แม่ก็เลยพาน้องไปหาหมอ ซึ่งคุณหมอวินิจฉัยว่าน้องเป็นโรคไบโพลาร์ (Bipolar) แต่แม่คิดว่าน้องไม่ได้เป็นโรคนี้ ก็เลยพาไปหาหมออีกโรงพยาบาลหนึ่ง คุณหมอวินิจฉัยว่าไม่ใช่โรคไบโพลาร์ (Bipolar) และได้แนะนำให้น้องฝึกเรื่องการปรับพฤติกรรม
คุณแม่คิดอย่างไรกับประโยคว่า ไปหาหมอจิตเวช = บ้า
ง่ายๆ เลย ต้องคิดถึงลูกเรา เราอยากให้เขาหาย เรารักเขา เราไม่ต้องไปแคร์ใคร แรกๆ คุณพ่อก็ไม่เข้าใจนะ เรื่องต้องพาไปหาหมอจิตเวช มันยากตรงที่คุณพ่อ-คุณแม่ จะรับได้ไหม สังคมตอนนี้มันธรรมดาแล้ว มันมีรณรงค์มากขึ้น แต่ตอนนี้คุณพ่อเขาเข้าใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนนะ อาจจะมีที่มีอารมณ์เสียบ้าง แต่เขาจะไม่พูดต่อหน้าลูก เราเองก็จับแยกกันก่อน ให้อารมณ์เบาๆ กัน
ที่สำคัญเลย คือ ความรัก เรารักเขา เข้าใจเขา ฟังเขา เขาจะไว้ใจที่จะมาพูดกับเรา เล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เขาเจอให้เราฟัง และเราต้องให้อภัยเขา
ตอนที่ต้องรับมือกับอารมณ์ของน้อง คุณแม่มีวิธีการรับมืออย่างไร?
ตอนที่น้องเป็นหนักๆ ที่ว่าร้องไห้ไม่หยุด บอกว่าแม่ไม่รัก แม่ทิ้งเขา เราก็กอดเขา บอกว่าเราอยู่ตรงนี้นะ ปล่อยให้เขาพูดไปก่อน เราต้องรับฟัง
ส่วนตอนที่น้องเขาไม่เข้าใจเรื่องการเรียน เราก็ร่วมเรียนไปกับเขา ติวไม่ด้วยกัน คอยช่วยดูพวกเนื้อหาให้ แม่จะค่อยๆ พูดกับเขาว่า "เราจะทำไปด้วยกัน" เราต้องให้ความเชื่อมั่นกับเขา ว่าเขาทำได้นะ
ความหวังดีของแม่ บางทีอาจจะเป็นตัวกระตุ้นอาการของน้อง
เราหวังดีกับเขา ด้วยความที่เราห่วงเขา หลายครั้งเราก็จะทำ หรือพูดอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นให้เขาเกิดอาการ อย่างเช่น "อ่านหนังสือแล้วหรือยัง" เราต้องกลับมาดูตัวเรานะว่าบางทีเรานี่แหละที่เป็นตัวกระตุ้นเขา เราเอาตัวเราเป็นบรรทัดฐานจนลืมเขา บางทีเรามีอารมณ์ เราก็เผลอใช้คำรุนแรง หรือการข่มขู่ แต่มันไม่มีประโยชน์เลย เราก็ต้องคอยบอกตัวเอง ต้องใจเย็น ค่อยๆ พูด จะได้ผลดีกับเขา ต้องเข้มแข็ง เพราะไม่รู้ว่าเราจะพูดทำร้ายกันไปทำไม
ตอนนี้น้องเป็นอย่างไรบ้าง?
ตอนนี้น้องเรียนออนไลน์ มีฝึกการพรีเซนต์งาน แม่น่ะตื่นเต้นมาก แต่น้องเขานิ่งๆ นะ ก็ต้องค่อยๆ ฝึกไป แต่เขาจะคอยถามแม่ตลอดว่าหนูเป็นยังไงบ้าง ดีขึ้นไหม แม่คิดว่าถ้าเราให้ประสบการณ์เขาเยอะๆ มันจะช่วยได้ จริงๆ มันอยู่ที่มุมมอง ก็ต้องค่อยๆ ผ่านกันไป
คุณแม่มีอะไรจะฝากถึงคุณพ่อ-คุณแม่ท่านอื่นๆ บ้าง?
สำหรับคนที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรืออะไรก็แล้วแต่ ต้องถามตัวเองก่อนว่า คิดว่าจะทำยังไงกับลูกต่อไป ลูกจะมีชีวิตต่อไปยังไงเมื่อเราไม่อยู่ เขาจะอยู่อย่างมีความสุขได้ยังไง เราอาจต้องสร้างสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เขารู้ว่าเขามีจุดเด่นอะไร ชอบอะไร เราต้องวางแผนก่อน
เด็กทุกคนต้องการความรัก กำลังใจ ความใส่ใจ เราต้องไม่ท้อ เราอาจต้องเสียสละหน่อย ก็ค่อยๆ ทำไป ทำทุกด้านให้บาลานซ์ ทำให้รู้สึกว่าลูกไม่ได้มีปัญหา
บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน