APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ล้างจมูกเด็กเล็กด้วยน้ำเกลือ หายป่วยไว ห่างไกลหวัด

อันตรายจากฝุ่น PM. 2.5 หรือค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงเกินกว่าระดับมาตรฐาน เป็นสาเหตุให้ลูกน้อยของเราเสี่ยงโรคระบบทางเดินหายใจ ส่งผลต่อพัฒนาการ หรือร่างกายไม่แข็งแรง

เช่น เป็นมะเร็ง ขาดสารอาหาร มีความเสี่ยงมากที่สุดเมื่อหายใจเอาฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าร่างกาย นอกจากการใส่หน้ากาก N95 แล้ว การล้างจมูกเป็นอีกวิธีที่ช่วยชะล้างสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้น

การล้างจมูก

การล้างจมูก (Nasal Irrigation) คือ การล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือ โดยที่ชนิดและความเข้มข้นของน้ำเกลือที่ใช้ในการล้างจมูก คือ 0.9% Sodium Chloride

ทำไมต้องล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

  • ลดปริมาณเชื้อโรค ของเสีย และสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ
  • การล้างจมูกเด็กด้วยน้ำเกลือช่วยให้จมูกเด็กโล่งขึ้น หายใจได้สะดวก เพราะได้ล้างหรือกำจัดเอาพวกเศษน้ำมูก หรือคราบน้ำมูกแข็ง และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ออกไปจนหมด
  • บรรเทาอาการคัดจมูก หวัดเรื้อรังให้ทุเลาลง
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุโพรงจมูก
  • ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด

ใครบ้างควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

  • โรคภูมิแพ้
  • โรคไซนัสอักเสบจำเป็นต้องล้างจมูกเพื่อระบายน้ำมูก ที่ค้างอยู่ในโพรงจมูกและไซนัส
  • โรคหอบหืด
  • เป็นหวัดคัดจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะมากเกินไป จนหายใจไม่สะดวก
  • ล้างก่อนใช้ยาพ่นจมูก หรือตามคำแนะนำของแพทย์
  • เด็กที่สามารถกลั้นหายใจและสั่งน้ำมูกเองได้แล้วจึงจะทำได้โดยไม่สำลัก

ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน

  • ก่อนใช้ยาพ่นจมูกแนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ไม่เกิดการอาเจียน
  • สามารถล้างได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือ ช่วงเวลาเช้าและก่อนเข้านอน
  • รู้สึกแน่นจมูก จากการมีน้ำมูกในโพรงจมูกมาก

 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • น้ำเกลือล้างจมูก หรือ (น้ำเกลือที่เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิมไม่ควรใช้ขวดใหญ่ เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานกว่าจะหมด จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปควรใช้ขวดละ 100 ซีซี)
  • ภาชนะสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือล้างจมูก
  • ภาชนะสำหรับรองน้ำจากการล้างจมูก
  • ผ้าหรือกระดาษทิชชู่
  • จุกล้างจมูก
  • ลูกยางแดงสำหรับดูดน้ำมูก
  • หลอดฉีดยา (Syringe)

ขนาดอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมตามช่วงวัย

อุปกรณ์สำหรับเด็กเล็ก (1-5 ปี)อุปกรณ์สำหรับเด็กโต (6 ปีขึ้นไป)
กระบอกฉีดยาพลาสติก(ไม่ใส่หัวเข็ม )
● 1 ปีแรก ใช้ขนาด 1 cc.
● 1-5ปี ใช้ขนาด 2-5 cc.
กระบอกฉีดยาพลาสติก(ไม่ใส่หัวเข็ม )
ใช้ขนาด 10-20 cc.
ลูกยางแดง สำหรับดูดน้ำมูก เสมหะ
● 1 ปีแรก ใช้เบอร์ 0-2
● 1-5ปี ใช้เบอร์ 2-4
ลูกยางแดง สำหรับดูดน้ำมูก เสมหะ
ใช้เบอร์ 2-4

วิธีล้างจมูกทารก ล้างอย่างไรให้ถูกวิธี

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือในเด็กเล็ก ทำแบบไหนถึงจะถูกวิธี คลิปนี้พี่กิ๊ฟและพี่วิวจะมาสาธิตให้คุณพ่อแม่ดูไว้เป็นตัวอย่างนะคะ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปทำตามกันที่บ้านได้เลยค่ะ เพราะการล้างจมูกจะช่วยลดอาการน้ำมูกไหลลงคอ และชำระล้างฝุ่นและสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้นะคะ

รับชมวิดีโอ :


Q&A คำถามพบบ่อย

Q : เด็กทารกสามารถล้างจมูกได้ตั้งแต่กี่เดือน ?

A: เด็กทารกสามารถล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่ทารกวัยแรกเกิดเป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพบว่าลูกมีอาการหายใจไม่ออก คัดจมูก แน่นจมูก สามารถทำการล้างจมูกได้

Q : สามารถใช้น้ำเปล่าล้างจมูกแทนน้ำเกลือได้หรือไม่ ?

A: การล้างจมูกไม่แนะนำให้ใช้น้ำเปล่า เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย หากใช้น้ำเปล่าจะทำให้เกิดอาการสำลัก และแสบในโพรงจมูก รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้

Q : ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือบ่อยๆอันตรายหรือไม่?

A: การล้างจมูกสามารถทำตั้งแต่ด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงวัย การล้างจมูกสามารถล้างได้ทุกวัน วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ เวลาเช้าและก่อนนอน ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อย่างไร


อ่านบทความเพิ่มเติม

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้