ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว จะแบ่งเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วห้องบน และห้องล่าง และมักพบบ่อยๆ ก็คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วห้องบน
อาการส่วนใหญ่มักพบว่า มีอาการใจสั่นขึ้นมาทันทีทันใด และถ้าหายก็จะหายแบบทันทีทันใด ถ้าจับชีพจรมักจะสวิงเกิน 150 - 200 ครั้งต่อนาที ปัญหาของหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว คือ คนไข้มักมีอาการอยู่ที่บ้าน และเมื่อมาถึงโรงพยาบาลอาการจะดีขึ้น จึงทำให้ตรวจพบไม่เจอ
เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว ?
มีการตรวจวินิจฉัยหลายแบบ ดังนี้
การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถรักษาด้วยการสวน และจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ โดยปัจจุบนี้มีถึง 2 แบบด้วยกันคือ การสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจแบบ 2D หรือ 3D และการรักษานี้มีโอกาสหายขาดได้ถึง 92 - 98% โดยผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต และการรักษาก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยใช้เวลาการรักษา 1 - 2 ชั่วโมง ต่อผู้ป่วย 1 ราย และผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวด และไม่ทรมานมาก แต่อาจมีอาการรู้สึกอุ่นๆ ตรงหน้าอกเท่านั้นเอง
การรักษาด้วยการสวน และจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ แบบ 2D และ 3D แตกต่างกันอย่างไร ?
การรักษาแบบ 3D หรือ 3มิติ ระหว่างการรักษา จะสามารถเห็นภาพการเคลื่อนไหวของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างชัดเจน โดยวิธีนี้จะได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูง มีความแม่นยำกว่าแบบ 2D
บทความโดย
นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว
แพทย์ชำนาญการด้านการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชีวิตอาจเปลี่ยนได้
หนึ่งในโรคภัยที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดโรคหนึ่ง คือ “โรคหัวใจ” ซึ่งในหลายๆ ครั้ง บางคนไม่ทราบว่าตัวเป็นโรคหัวใจ จนบางครั้งก็สายไป วันนี้หมอเองมีข้อมูลที่น่าสนใจมาบอกกัน ว่าด้วยเรื่อง “โรคหัวใจห้องบน สั่นพริ้วผิดจังหวะ (AF : Atrial Fibrillation)” โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด และมีความรุนแรงต่างกัน แต่ Atrial Fibrillation เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยพบสูงถึง 7.2% ในอายุมากกว่า 65 ปี และโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง ?
วิธีการตรวจว่าตนเองเสี่ยงเป็น “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
ภาวะแทรกซ้อนที่ควรรู้
ความผิดปกติของการบีบตังของหัวใจห้องบนแบบสั่นพริ้ว ทำให้เกิดตะกอนลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดสามารถหลุดลอยไปอุดตันเส้นเลือดสมอง จนทำให้สามารถเกิดภาวะสมองขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการบ่งชี้
การดูแลรักษา
การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ ในการช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการตรวขสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากโรคต่างๆ และรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อที่ทุกท่านจะได้มีเวลาอยู่กับคนที่รักไปนานๆ
บทความโดย
พญ.สรวงพัชร์ สีตกะลิน
แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ
การรักษารากฟัน สำคัญขนาดไหน? คืออะไร ?
รากฟัน คือ รากฟันเป็นส่วนที่ต่อจากตัวฟันที่อยู่ใต้เหงือก วางตัวอยู่ในบริเวณกระดูกเบ้าฟันซึ่งภายในของรากฟันจะประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็นโพรงประสาทฟันซึ่งจะอยู่ด้านใน ทำหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงฟันและเส้นประสาทการรับรู้ความรู้สึกของฟัน
สาเหตุของการรักษารากฟันมีอะไรบ้าง ?
สาเหตุส่วนใหญ่เลยที่ต้องรักษารากฟันเนื่องจาก มีฟันผุที่มีขนาดใหญ่หรือลึกมากๆ จนฟันที่ผุทะลุเข้าไปในโพรงประสาทฟัน ซึ่งในส่วนนี้ถ้าเกิดทะลุเข้าไปในโพรงประสาทฟันแล้ว จะทำให้โพรงประสาทฟันอักเสบ และติดเชื้อ จึงเป็นที่มาของการรักษารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องทำการกำจัดการอักเสบในโพรงประสาทฟันออกหรือว่าตัดส่วนโพรงประสาทฟันที่อักเสบออกไป เพื่อลดการอักเสบ และการเกิดโรคในรากฟัน ต่อมาก็จะมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น การที่มีฟันร้าว หรือว่าฟันได้รับอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังเกิดจากการที่ฟันเป็นโรคปริทันต์ลึกลงไปรากฟัน จนทำให้ฟันตาย อาการแบบนี้ก็จะต้องรักษารากเช่นเดียวกัน
อาการที่บ่งบอกว่าควรได้รับการรักษารากฟัน
อาการเริ่มต้นที่จะต้องรักษารากฟัน คือ เริ่มมีอาการปวดฟัน ส่วนใหญ่จะปวดขึ้นเอง และมีอาการปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยอาการปวดจะไม่สามารถหายไปเองได้ และยังพบว่ามีอาการเสียวฟัน อาการดังกล่าวเหล่านี้ก็จะเป็นอาการเบื้องต้นแรก ๆ ที่จะต้องเข้ามาตรวจเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษารากฟัน
วิธีการรักษารากฟันมีอะไรบ้าง ?
วิธีการรักษารากฟันเริ่มต้น จะใส่ยาชาก่อน และใส่แผ่นยางกันน้ำลาย เพื่อป้องกันน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือเนื้อฟันที่เรากรอลงไปในคอ หลังจากนั้นจะกรอฟัน และเปิดเข้าไปในโพรงประสาทฟัน เพื่อจะกำจัดโพรงประสาทฟัน หรือเชื้อโรคออก และล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นน้ำยาล้างคลองรากฟัน และมีการใส่ยาไว้ในคลองรากฟัน รอจนกระทั่งอาการหายดี และหากมีตุ่มหนองก็รอจนกระทั่งตุ่มหนองปิดหรือหายดีแล้ว หรือมีอาการบวมที่ลดลงจนหายแล้ว
การรักษารากฟันและการดูแล
ควรงดรับประทานอาหารแข็ง และอาหารเหนียว เพราะว่าการรับประทานอาหารแข็งหรือเหนียว ระหว่างรักษารากฟัน ส่วนใหญ่จะทำให้ฟันที่รักษาอยู่แตกออกจากกัน ซึ่งฟันที่แตกแล้วจะไม่สามารถบูรณะให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติได้อีก
บทความโดย
ทพ.อานนท์ชัย จันทร์สุนทรภาส
ไอกรนในเด็ก เรื่องใหญ่ต่อระบบบหายใจ อาการคล้ายไข้หวัด แต่อันตรายกว่านั้น
สาเหตุ โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไอกรน ซึ่งติดต่อกันผ่านทางระบบทางเดินหายใจ
อาการ เป็นการติดเชื้อเริ่มจากที่ทางเดินหายใจส่วนบนคล้ายไข้หวัด แต่ระยะต่อมาการไอจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ไอติดๆ กันนาน หากรุนแรงขึ้นจะมีอาการไอต่อเนื่อง จนหายใจไม่ทัน จนทำให้เกิดอาการเหนื่อยตาม และหลังการไอ เด็กจะหายใจเข้าเต็มที่จนเกิดเสียงดัง ที่เป็นลักษณะเฉพาะ
อย่างไรก็ดี เชื้อโรคที่ทำให้เกิดลักษณะอาการไอคล้าย ๆ กัน อาจจะเป็นจากเชื้ออื่นอย่างไวรัส กรณีในเด็กเล็กจะมีหลอดลมขนาดเล็ก จะมีความรุนแรงกว่าเด็กโต คือ การไอมีเสมหะเหนียว จะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ นำไปสู่การอักเสบของหลอดลมเล็กและปอดส่วนล่าง ส่งผลทำให้มีการหายใจล้มเหลวตามมาได้
การรักษา โรคนี้สามารถรักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะ และถ้าได้รับการรักษาเร็ว ในช่วงแรกจะลดความรุนแรงของโรคในระยะต่อไปได้ แต่ถ้ารักษาในระยะที่ไอมาก ๆ แล้ว การไออาจจะยังยาวนานต่อไปได้อีกอาจถึง 2-3 เดือน
การป้องกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนร่วมไปกับวัคซีนคอตีบบาดทะยักซึ่งอาจรวมถึงโปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบและตับอักเสบบี พร้อมกันไปเลยตั้งแต่อายุ 2 เดือนหลังเกิด และจำเป็นต้องได้รับวัคซีนหลายครั้งเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ เป็นต้น วัคซีนป้องกันโรคไอกรนรุ่นเดิม ในอดีตจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้วัคซีนรวมรุ่นใหม่ที่ผลข้างเคียงลดลงไปอย่างมาก
บทความโดย
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
กุมารแพทย์โรคหัวใจ และ ผอ.รพ.เฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
โรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน (Seperation anxiety disorder, SAD) เพราะการแยกจากกันไม่ใช่เรื่องง่าย
ความวิตกกังวลจากการแยกจากกันเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็กช่วงอายุ 18 เดือนถึง 3 ปี แต่หากอาการของความวิตกกังวลนั้นรุนแรงและเป็นเรื้อรังนานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจจะต้องนึกถึงโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน เนื่องจากเป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก พบประมาณ 1-4% ของเด็ก อายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการคือ อายุ 7 ปี ยังไม่มีการศึกษาความชุกของผู้ใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน
เด็กที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากจะมีความรู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวลเมื่อต้อง อยู่ห่างจากบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งมักจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ดูแลคนอื่นๆ ในเด็กบางคนอาจมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัวหรือปวดท้อง อาการมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแยกจากหรือเมื่อคิดว่าต้องแยกทางกัน เพราะเด็กกังวลว่าอาจจะมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลหากเด็กจากไป เด็กที่ยังเล็กมากอาจไม่สามารถระบุความคิดที่น่ากลัวได้) ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมต่างๆตามมา เช่น ....
พฤติกรรมดังยกตัวอย่างไป อาจทำให้เด็กพลาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอาการจะลดลงทีละน้อยเมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตามลำดับ แต่ความวิตกกังวลจากการพลัดพรากสามารถดำเนินไปในวัยผู้ใหญ่ได้ และในบางรายอาจเริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ซึ่งอาจเกิดตามมาภายหลังจากเผชิญเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสียบุคคอันนี้เป็นที่รัก เข่น การเสียชีวิตหรือการหย่าร้าง เป็นต้น
สาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน อาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ พื้นอารมณ์ของเด็กที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น มีพื้นอารมณ์เดิมปรับตัวยากหรือปรับตัวช้า ปัจจัยทางจิตใจและสิ่งแวดล้อม เข่น การตายของสมาชิกในครอบครัว การย้ายบ้านหรือเปลี่ยนโรงเรียน การถูกเลี้ยงดูในลักษณะปกป้องหรือประคบประหงมมากเกินไป สมาชิกในครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือความผิดปกติทางจิตอื่นๆ การที่เด็กไม่สามารถสร้างความผูกพันที่มั่นคงปลอดภัยกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลได้ เป็นต้น ซึ่งเด็กที่เป็นโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน ยังสามารถพบโรคร่วมอื่นๆได้อีก เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคซึมเศร้า
การช่วยเหลือและการรักษาจึงมีความสำคัญ เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆที่จะพบตามมา ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำและให้การบำบัดปรับพฤติกรรมเพิ่อช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีจัดการกับความวิตกกังวลของตนได้ดีขึ้น มีการให้คำแนะนำผู้ดูแลเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลของเด็กได้ ช่วยให้ผู้ปกครองมีวิธีสร้างความผูกพันมั่นคงทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยแม้เวลาที่ต้องแยกจากกัน นอกจากนี้ยังมีการให้ยาลดความวิตกกังวลซึ่งอาจช่วยให้เด็กบางคนรู้สึกสงบขึ้น และการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับทางโรงเรียนเพื่อโรงเรียนจะสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กต่อไป
บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์
6 ท่า บรรเทาอาการปวด"หลังส่วนล่าง ชาร้าวลงขา" หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ท่าที่ 1 นอนคว่ำ หันหน้าไปด้านหนึ่ง ทำเป็นระยะเวลาประมาณ 5 นาที และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 2 ตั้งศอก ดันตัวขึ้นลง 5 - 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ และห้ามเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 3 ใช้แขน เหยียดข้อศอก และดันตัวขึ้นลง 5 - 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ ไม่ควรเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 4 ยืน และนำมือทั้ง 2 ข้าง ค่อยๆ ดันบริเวณหลังส่วนล่าง 5 - 10 ครั้ง และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 5 นอนหงายชันเข่า แขม่วท้องให้หลังชิดเตียง หายใจเข้า-ออก 5 - 10 ครั้ง ทำ 3 รอบ อย่างช้าๆ และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 6 แขม่วท้องค้างไว้ ยกขา 1 ข้าง ขึ้นมาประมาณ 90 องศา ส่วนขาอีกข้างให้ชันเข่าไว้ ทำสลับกันไปอย่างช้าๆ โดยหายใจเข้า 5 -10 ครั้ง
หากท่านใดทำ 6 ท่าดังกล่าว แล้วมีอาการมากขึ้น แนะนำให้หยุดทำ และรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป
สังเกตตัวเองอย่างไร ให้รู้ทัน และห่างไกลโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า ถือว่าเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในโลกที่ค่อนข้างรุนแรง และมีผลกระทบกับชีวิตพอสมควร เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจะนิ่งดูดาย และเราไม่ควรต้องรอจนเราเป็นซึมเศร้า เพราะฉะนั้นอาการแรกเริ่มของซึมเศร้าเป็นอย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกันนะครับ
อาการที่บ่งบอก ว่าเรากำลังตกอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าหรือไม่ ?
หากมีอาการดังกล่าว และปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจส่งผลต่อชีวิตได้ ทั้งนี้แนะนำให้เข้ามาพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ รวมถึงวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
บทความโดย
นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
จิตแพทย์ และ ผอ.รพ.แพทย์รังสิต
โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency)
1. โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี คืออะไร ?
โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี คือ โรคพันธุกรรมที่เกิดจากการขาดเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) ซึ่งเป๋นเอนไซม์ที่มีความสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดง เนื่องจากมีหน้าที่ในการป้องกันเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ (oxidant)
2. โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไร ?
โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีถ่ายทอดแบบยีนด้อยของโรคโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive) ทำให้พบในบุตรชายมากกว่าบุตรสาว
3. อาการของโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีมีอะไรบ้าง ?
หากทารกแรกเกิดมีโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีจะพบภาวะตัวซีดเหลืองหลังคลอด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆเลย จนกว่าจะได้รับสารกระตุ้นบางชนิด เช่น การติดเชื้อต่างๆ การได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา แอสไพริน ยารักษามาลาเลีย หรือการสัมผัสสารเคมีบางอย่าง เช่น ลูกเหม็น ถั่วปากอ้า หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารกระตุ้นเหล่านี้จะทำให้มีเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลืองมากกว่าปกติ ซีดลง ปัสสาวะสีเข้มคล้ายสีน้ำปลาหรือโคล่า หากปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รัยการรักษาที่เหมาะสม
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีหรือไม่ ?
ทำได้ด้วยการเจาะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ร่วมกับการส่งตรวจวัดระดับเอนไซม์ G6PD
5. โรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีรักษาอย่างไร ?
ทารกแรกเกิดที่มีระดับความเหลืองในเลือดไม่รุนแรงแพทย์จะรักษาด้วยการส่องไฟ ในรายที่รุนแรงจำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดตามข้อบ่งชี้ สำหรับเด็กโตเมื่อมีไข้หรือการติดเชื้อให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาสาเหตุของไข้ ผู้ป่วยควรพกบัตรประจำตัวว่าเป็นโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี
6. ป้องกันไม่ให้มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้อย่างไร ?
บทความโดย
พญ.ปัญจรัตน์ โสวิทยสกุล
โรคหัวใจรูห์มาติก โรคที่เกิดตามมาหลังจากลูกน้อยเป็นไข้รูห์มาติก
สาเหตุ เป็นโรคหัวใจที่เกิดตามหลังจากไข้รูห์มาติก โดยที่อาการทางระบบอื่นหายไปแล้ว แต่ลิ้นหัวใจอักเสบที่รั่วยังคงมีผลต่อเนื่องระยะยาวทำให้เกิดการรั่วและหรือมีการตีบของลิ้นหัวใจตามมา ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อย จนถึงเป็นวัยผู้ใหญ่ ลิ้นที่มีปัญหาที่พบบ่อยสุดคือลิ้นหวใจไมตรัล ที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้ายลิ้น และที่พบรองลงมาคือลิ้นหัวใจเอออติก ซึ่งเป็นลิ้นที่เป็นทางออกของหัวใจทางด้านซ้าย และหลายๆรายก็พบว่ามีความผิดปกติทั้งสองลิ้นร่วมกัน ส่วนลิ้นหัวใจที่อยู่ด้านขวาก็พบว่ามีการอักเสบได้แต่ปัญหาจะน้อยกว่าทางด้านซ้าย
อาการ เมื่อมีการรั่วของลิ้นหัวใจจะทำให้หัวใจด้านนั้นทำงานหนักขึ้น หัวใจต้องบีบเลือดมากขึ้นเพราะมีบางส่วนที่ไหลรั่วออกไป หัวใจด้านนั้นจะโตขึ้นโดยเฉพาะทางด้านซ้ายแต่ถ้ามีปัญหาของลิ้นหัวใจทางด้านขวาหัวใจทางด้านขวาก็จะโตขึ้นด้วยเช่นกัน กรณีที่มีการตีบของลิ้นหวใจก็จะทำให้เลือดไหลผ่านลงไปไม่ได้ เกิดการคั่งของเลือดห้องหัวใจต้นทางนั้น อาการของเด็กป่วยจะมีเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ออกแรงสู้เพื่อนไม่ได้
การรักษา เริ่มตั้งแต่การป้องกันไม่ให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบซ้ำซากหลังจากเป็นไข้รูห์มาติก โดยที่ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเดือนละครั้ง หรือทานยาปฏิชีวนะวันละสองครั้งไปนานหลายปีตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ปัญหาที่เกิดในอดีตคือเด็กไม่ได้รับยาป้องกันอย่างเพียงพอ เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจซ้ำซาก ยิ่งเป็นบ่อยๆมีผลให้ความผิดปกติเสียรูปของลิ้นหัวใจจะมากขึ้น มีผลต่อการไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ แต่ถ้าได้รับการป้องกันที่ดี ไม่เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจซ้ำอีก การรั่วของลิ้นหัวใจก็มีโอกาสที่จะหายไปได้ในระยะยาว
การรักษาลิ้นหัวใจที่รั่วและหรือตีบแล้ว จะเป็นการแก้ปลายเหตุแต่ก็มีความสำคัญที่จะทำให้อาการดีขึ้นในเบื้องต้นคือการทานยาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเพื่อซ่อม หรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมถ้าจำเป็น ซึ่งลิ้นเทียมเหล่านี้ไม่โตตามตัว และคงทนไปตลอด ต้องมีการผ่าตัดซ้ำ รวมทั้งจำเป็นต้องทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต
บทความโดย
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
กุมารแพทย์โรคหัวใจ และ ผอ.รพ.เฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต
4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก
โรคมะเร็งเกิดขึ้นในส่วนใดของร่างกายได้บ้าง ?
วันมะเร็งโลก กำหนดขึ้นในทุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล(UICC) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกร่วมใจกันต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายที่จะลดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
โรคมะเร็ง คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ร่างกายที่มีความผิดปกติของ DNA หรือสารพันธุกรรมที่มีการเจริญเติบโต แบ่งตัวเพิ่มรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้จนเกิดการลุกลาม จนมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง ของร่างกาย ทั้งนี้โรคมะเร็งสามารถป้องกันตนเองได้ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
โรคมะเร็ง มีประเภทใดบ้าง ? และสามารถเกิดขึ้นในส่วนใดของร่างกายได้บ้าง ?
มะเร็งปากมดลูก
เป็นมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิง โดยหญิงไทยมักเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์หลัก ชนิด 16 และ 18, การมีคู่นอนหลายคน, มีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อย, การสูบบุหรี่ เป็นต้น
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก :
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งส่วนนี้ คือ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, มีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน, กินเนื้อสัตว์อาหารแปรรูปและเนื้อแดง, พบประวัติคนในครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลลำไส้ ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ที่มาอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระปีละครั้ง และหากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งช่องปากเกิดขึ้นได้ในหลายตำแหน่งในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝรปาก เหงือก เพดานปาก เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการเจ็บ หรือมีก้อนและแผลในช่องปาก หรือเป็นร้อนในเรื้อรัง และมักพบรอยโรคสีขาว สีแดง ขาวปนแดง รวมถึงมีอาการชา เจ็บบริเวณใบหน้า ปาก และลำคอโดยไม่ทรายสาเหตุ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มักเกิดจากภาวะเซลล์เยื่อบุผิวด้านในของกระเพาะปัสสาวะที่เจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ จนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยมักพบในเพศชายช่วงอายุ 50-70 ปี ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นมักจะมีอาการปัสสาวะปนเลือด หรือ ปวดขณะปัสสาวะ
มะเร็งรังไข่
เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนำไข่ ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้น และมักมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องหรือปวดอุ้งเชิงกราน หรือ คลำพบก้อนในช่องท้อง เป็นต้น
มะเร็งต่อมลูกหมาก
เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 ของเพศชาย และมีอัตราผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นมะเร็งที่เกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลลต่อมลูกหมากจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง โดยสัญญาณเตือน ได้แก่
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
คือ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย โดยปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดจาก ปัจจัยด้านภูมิคุ้มกันลดลง การสัมผัสสารเคมี ปัจจัยทางพันธุกรรม ทั้งนี้ควรหมันสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และรีบปรึกษาแพทย์ทันที
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมักมีปัจจเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น, เคยเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งที่เต้านม ,มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งที่เต้านม, มีประจำเดือนเร็ว ก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดหลังอายุ 55 ปี, ได้รับรังสีที่เต้านม หรือทรวงอก, ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7 สัญญาณมะเร็งเต้านม
มะเร็งตับและท่อน้ำดี
มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานที่ผิดปกติและพัฒนาเป็นมะเร็ง มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ภาวะตับแข็ง การได้รับสารพิษจากเชื้อรา การดื่มแอลกอฮอล์
มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวกายในท่อน้ำดี มีการเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย มีปัจจัยเสี่ยงจากมีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง หรือการติดเชื้อพยาธิใบไม้ดิบจากการกิจปลาน้ำจืดดิบ
แนวทางป้องกันโรค
มะเร็งปอด
มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่คนทั่วโลกป่วยและเสียชีวิตมากที่สุด โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการ ไอเรื้อรัง-เสมหะปนเลือด, หายใจลำบาก มีเสียงหวีด, ปอดติดเชื้อบ่อย, เหนื่อยง่าย อ่อนแพลีย
ปัจจัยเสี่ยง : สูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่, สัมผัสสารก่อมะเร็ง, มลภาวะทางอากาศ เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ https://allaboutcancer.nci.go.th/
ไขข้อสงสัย การตรวจมะเร็งเต้านม
ตรวจก่อน รู้ทัน
รวมคำถามยอดฮิต ก่อนการตรวจมะเร็งเต้านม
ไม่ว่าเราจะรักใครมากแค่ไหน การรักตัวเองเป็นสิ่งที่มีค่าที่ไม่ควระลทิ้ง และสำหรับผู้หญิงทุกคน การรักตัวเองก็ควรต้องใส่ใจที่จะดูแลตัวเองให้แข็งแรงเพื่อจะได้มีพลังอยู่กับคนที่เรารักนานๆ และเมื่อเอ่ยถึงภัยร้ายใกล้ตัวผู้หญิงในปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมก็คงเป็นโรคที่พบมากที่สุดของผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคนิ้กว่า 20,000 คน ซึ่งสถิติที่น่ากลัวมาก และวิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม เพราะการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีเกือบ 100% แต่ถ้าพบในระยะสุดท้ายของโรคโอกาสเสียชีวิตจะมาก โดยวันนี้หมอขอนำคำถามยอดฮิตมาตอบให้ทุกคนทราบ
คำถามพบบ่อยที่ 1 : หลายคนสงสัย คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร ?
คำตอบ : คือ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ ด้วยการตรวจเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์
คำถามพบบ่อยที่ 2 : ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมบ้าง ?
คำตอบ : ผู้หญิงอายุ 20 – 40 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ และผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี ตรวจแมมโมแกรมปีละหนึ่งครั้ง ยกเว้นผู้ที่มีแม่บุตรสาว พี่น้องเป็นมะเร็งเต้านมควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 40 ปี
คำถามพบบ่อยที่ 3 : ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร?
คำตอบ : เพื่อโอกาสในการพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม
คำถามพบบ่อยที่ 4 : ขณะมีประจำเดือนตรวจได้หรือไม่
คำตอบ : ควรมาตรวจหลังจากมีประจำเดือน แล้ว 7 วัน เพราะเนื่องจากขณะมีประจำเดือน เต้านมจะมีอาการคัด ทำให่เวลาตรวจจะมีอาการเจ็บและแปลผลได้ยากกว่า และไม่ควรทาแป้งหรือสารระงับกลิ่น บริเวณรักแร่หรือเต้านมขณะมารับการตรวจ เนื่องจากจะทำให้การแปลผลผิดพลาดได้
คำถามที่พบบ่อยที่ 5 : ต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจหรือไม่
คำตอบ : ไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจ
คำถามที่พบบ่อยที่ 6 : ถ้าผลผิดปกติควรทำอย่างไร?
คำตอบ : ไม่ควรตกใจ เนื่องจากไม่ใช่มะเร็งทุกคน ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ เพื่อยืนยันอีกครั้ง ถ้าแพทย์สงสัยจะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
คำถามที่พบบ่อยที่ 7 : การตรวจแมมโมแกรมบ่อยๆ ทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่
คำตอบ : ยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งมากขึ้น เนื่องจากปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมากๆ
คำถามที่พบบ่อยที่ 8 : การตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียงพอหรือไม่
คำตอบ : ยังไม่แนะนำให้ตรวจมะเร็งเต้านมตัวเองเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะทำให้พบมะเร็งเต้านมล่าช้า กว่าการตรวจแมมโมแกรม และทำให้การรักษาล่าช้า จนผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้
มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงอับดับต้นๆ แต่ถ้าพบได้ในระยะแรกของโรค โอกาสรอดชีวิตจะมีเกือบ 100% ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีประโยชน์มาก ถ้าอยากจะอยู่กับคนที่เรารักนานๆ การดูแลสุขภาพตัวเองก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หมั่นดูแลตัวเองและสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ “เพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก”
บทความโดย
พญ.สุนิสา ชัยประเสริฐ
เด็กแอลดี
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งได้ความบกพร่องได้ดังนี้
หลักการสังเกตเด็กที่สงสัยว่าเป็น “แอลดี”
“วัยอนุบาล” มีข้อสังเกตได้ดังนี้
“วัยประถมศึกษา” มีข้อสังเกตดังนี้
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ ที่เอาไว้สังเกตลูกๆของเรา ว่าอยู่ในอาการที่จะเป็นเด็กพิเศษหรือไม่ และสำหรับท่านใดที่มีความกังวล อย่ากลัวหรืออายที่จะเข้ารับคำปรึกษาจากหมอ เพราะยิ่งทราบเร็วก็ทำให้เข้ารับการดูแลได้เร็ว เพื่อพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อย โดยอยากให้เข้าใจว่า “เด็กทุกๆ คน มีโอกาสได้รับการพัฒนา และเด็กทุกคนมีจุดแข็งของตนเอง การแก้ไขปัญหา และการเข้ารับการดูแลรักษา การพบแพทย์นั้นเป็นเพียงการลดจุดอ่อนของลูก และเป็นการทำให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาของตนเองแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการดีกว่าปล่อยให้ลูกหงุดหงิดกับตัวเอง และรู้สึกแย่กับตนเองลงไปเรื่อยๆ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน