APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

โรคหัวใจรูห์มาติก โรคที่เกิดตามมาหลังจากลูกน้อยเป็นไข้รูห์มาติก

โรคหัวใจรูห์มาติก โรคที่เกิดตามมาหลังจากลูกน้อยเป็นไข้รูห์มาติก

สาเหตุ เป็นโรคหัวใจที่เกิดตามหลังจากไข้รูห์มาติก โดยที่อาการทางระบบอื่นหายไปแล้ว แต่ลิ้นหัวใจอักเสบที่รั่วยังคงมีผลต่อเนื่องระยะยาวทำให้เกิดการรั่วและหรือมีการตีบของลิ้นหัวใจตามมา ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อย จนถึงเป็นวัยผู้ใหญ่ ลิ้นที่มีปัญหาที่พบบ่อยสุดคือลิ้นหวใจไมตรัล ที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้ายลิ้น และที่พบรองลงมาคือลิ้นหัวใจเอออติก ซึ่งเป็นลิ้นที่เป็นทางออกของหัวใจทางด้านซ้าย และหลายๆรายก็พบว่ามีความผิดปกติทั้งสองลิ้นร่วมกัน ส่วนลิ้นหัวใจที่อยู่ด้านขวาก็พบว่ามีการอักเสบได้แต่ปัญหาจะน้อยกว่าทางด้านซ้าย

อาการ เมื่อมีการรั่วของลิ้นหัวใจจะทำให้หัวใจด้านนั้นทำงานหนักขึ้น หัวใจต้องบีบเลือดมากขึ้นเพราะมีบางส่วนที่ไหลรั่วออกไป หัวใจด้านนั้นจะโตขึ้นโดยเฉพาะทางด้านซ้ายแต่ถ้ามีปัญหาของลิ้นหัวใจทางด้านขวาหัวใจทางด้านขวาก็จะโตขึ้นด้วยเช่นกัน กรณีที่มีการตีบของลิ้นหวใจก็จะทำให้เลือดไหลผ่านลงไปไม่ได้ เกิดการคั่งของเลือดห้องหัวใจต้นทางนั้น อาการของเด็กป่วยจะมีเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ออกแรงสู้เพื่อนไม่ได้

การรักษา เริ่มตั้งแต่การป้องกันไม่ให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบซ้ำซากหลังจากเป็นไข้รูห์มาติก โดยที่ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเดือนละครั้ง หรือทานยาปฏิชีวนะวันละสองครั้งไปนานหลายปีตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ปัญหาที่เกิดในอดีตคือเด็กไม่ได้รับยาป้องกันอย่างเพียงพอ เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจซ้ำซาก ยิ่งเป็นบ่อยๆมีผลให้ความผิดปกติเสียรูปของลิ้นหัวใจจะมากขึ้น มีผลต่อการไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ แต่ถ้าได้รับการป้องกันที่ดี ไม่เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจซ้ำอีก การรั่วของลิ้นหัวใจก็มีโอกาสที่จะหายไปได้ในระยะยาว

การรักษาลิ้นหัวใจที่รั่วและหรือตีบแล้ว จะเป็นการแก้ปลายเหตุแต่ก็มีความสำคัญที่จะทำให้อาการดีขึ้นในเบื้องต้นคือการทานยาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเพื่อซ่อม หรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมถ้าจำเป็น ซึ่งลิ้นเทียมเหล่านี้ไม่โตตามตัว และคงทนไปตลอด ต้องมีการผ่าตัดซ้ำ รวมทั้งจำเป็นต้องทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต

บทความโดย
นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร
กุมารแพทย์โรคหัวใจ และ ผอ.รพ.เฉพาะทางแม่และเด็กแพทย์รังสิต

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้