APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

Hightlight

การติดเชื้อ HPV เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย นอกจากการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้

หากติดเชื้อแล้ว ในระยะแรกนั้น อาจไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีแผล กว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ

ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลาม ทำให้ยากต่อการรักษา แล้ว HPV คืออะไร?

HPV คืออะไร ?

เชื้อ HPV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV มีกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งคือสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ ตัวอย่างเช่น สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 58 และกลุ่มที่เป็นสายพันธุ์ความเสี่ยงหรือสายพันธุ์ที่ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่อาจจะทำให้เกิดโรคอื่น เช่น โรคหูดหงอนไก่

การติดเชื้อ HPV เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย นอกจากการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้

หากติดเชื้อแล้ว ในระยะแรกนั้น อาจไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีบาดแผลอะไรเกิดขึ้น ทำให้กว่าจะรู้ตัวก็ใช้เวลาหลายปี

วิธีป้องกันเชื้อไวรัส HPV

  1. อย่างแรกเลยนะคะ คือเลี่ยงพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การมีคู่นอนคนเดียว ก็มีโอกาสติดเชื้อHPVได้
  2. เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  3. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ สามารถช่วยลดการสัมผัสสารคัดหลั่งในส่วนอื่นๆได้
  4. การฉีดวัคซีน HPV เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกก่อนติดเชื้อ เน้นป้องกันอยู่ 2 สายพันธุ์หลักๆ 70% ที่เป็นต้นเหตุของการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก คือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 9-10 ขวบ และมีการทำวิจัยพบว่า สำหรับเด็ก ไม่จำเป็นต้องฉีด 3 เข็มเหมือนผู้ใหญ่ ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี สามารถฉีดวัคซีน แค่ 2 เข็มก็มีภูมิคุ้มกันต่อ 2 สายพันธุ์หลัก ป้องกันได้ 100%
  5. การป้องกันด้วยการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจแปปเสมียร์ โดยแพทย์ หรือการตรวจด้วยตัวเอง จากการตรวจปัสสาวะหรือการตรวจด้วย Swap Test

การตรวจ HPV  ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เป็นเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป อยากให้สาวๆตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเป็นประจำ หากรู้ได้เร็ว มีโอกาสรักษาหายค่ะ


รับชมวิดีโอ

พญ.สิริวรรณ ศรีสุวรรณ

แพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวช และมะเร็งนรีเวช

โรคหัวใจ ใครก็เสี่ยง แม้โรคหัวใจจะพบมากในผู้สูงอายุ แต่เด็ก วัยรุ่น วัยทำงานก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้

เพราะปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ มีทั้งปัจจัยที่เราควรคุมไม่ได้ และปัจจัยที่ควบคุมได้

ปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้  

ส่วนปัจจัยที่เราควบคุมได้  คือ สิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อม ไลฟ์สไตล์  5 พฤติกรรม ที่ทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

พฤติกรรมเหล่านั้นได้แก่

  1. การรับประทานอาหารที่ไขมันสูง  มีคอเลสตอรอลสูง ของพวกนี้จะอยู่ในอาหารที่อร่อยๆทั้งนั้นเลยครับ เช่น หมูสามชั้น เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส แกงกะทิต่างๆ ของหวานอย่างเค้ก เบเกอร์รี่ หากทานต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงจนไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตัน และเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
  2. น้ำหนักเกิน หรืออยู่ ในภาวะอ้วน กลุ่มนี้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและอันตรายต่อการทำงานของหัวใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ  ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนเลือดติดขัดจนหัใจขาดเลือด และเสียชีวิตลงได้ครับ
  3. เครียดมากไป คิดมาก ส่งผลต่อหลายๆด้านในร่างกาย  ความเครียดจะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เราจึงควรมีวิธีจัดการกับความเครียดด้วยตัวเอง
  4. พักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่ออกกำลังกาย หากหัวใจม่เคยได้ออกกำลังกายก็จะทนต่อการทำงานหนักไม่ไหว และอาจเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  5. และสุดท้ายคือ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  หรือต่อให้เราไม่สูบ หากเราอยู่ใกล้คนที่สูบ ได้รับควันบุหรี่มือสอง ก็เสี่ยงโรคหัวใจได้เหมือนกัน

โรคหัวใจ สามารถป้องกันได้ ด้วยการ ละ ลด เลิก พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองหัวใจอย่างสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เรารู้ทันโรคต่างๆ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ครับ

______________________________________________________________________________________________

รับชมวิดีโอ :

นพ.ไพบูลย์ เชี่ยวชาญธนกิจ

แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ประจำศูนย์หัวใจ

Q1 : ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ คืออะไร และสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

ตอบ :  ก่อนที่เราจะไปรู้จักก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ อยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่าต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณคอด้านหน้าส่วนล่าง

ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ทําหน้าที่ในการควบคุมการการสร้างฮอร์โมน ที่จะส่งผลต่อการควบคุมการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ และควบคุมพลังงานที่มีผลต่อการทำงานอวัยวะต่างๆก่อน  ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอซึ่งหากต่อมไทรอยด์ส่วนนี้เกิดความผิดปกติ อาจจะเกิดจากการทำงานมากไป จนก่อให้เกิดเป็นก้อนขึ้นมา

Q2 : ก้อนเนื้อไทรอยด์มีกี่แบบ อันตรายอย่างไร ?

ตอบ :  ปกติก้อนเนื้อไทรอยด์ จะมีก้อนเนื้อชนิดไม่อันตราย กับเนื้อที่อันตราย หรือที่เรียกว่า " มะเร็งไทรอยด์ " นั่นเอง

Q 3 : ปัจจุบันการรักษาก้อนเนื้อไทรอยด์ชนิดธรรมดา มีกี่แบบ

ตอบ : การรักษาก้อนเนื้อของไทรอยด์ชนิดธรรมดานั้นมีหลากหลายวิธี รวมทั้งการใช้ยา การผ่าตัดด้วยวิธีเปิด การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง หรือการรักษาทางยา ซึ่งการรรักษาเหล่านั้นอาจจะมีผลการรักษาที่ดีกว่าหรือแย่กว่า แต่การรักษาการด้วยวิธีการใช้เข็มไมโครเวฟ

ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากไม่ก่อให้เกิดรอยแผล หรือมีแผลผ่าขนาดเล็กมาก จะเป็นวิธีการรักษาที่เรียกว่า Minimally Invasive วิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้ท่านสามารถฟื้นจากการักษาค่อนข้างเร็ว แทบจะไม่มีแผลเป็นจากการผ่าตัด เป็นวิธีที่สามารถหลีกเลี่ยงการนอนโรงพยาบาล และสามารถกลับไปทำงานหรือใช้ทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วยิ่งขึ้น

นพ.ดารงณ์ จีรปัญญากูล
แพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก
วัคซีนพื้นฐาน คือวัคซีนที่เด็กๆ ทุกคนควรได้ตั้งแต่แรกเกิดซึ่งวัคซีนที่จำเป็นแต่ละชนิดควรได้รับตามวัยของลูกน้อย เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานและป้องกันโรคภัยต่างๆ เพราะการฉีดวัคซีนจะช่วยสร้างภูมิต้านทานของโรคให้แก่เด็กในระยะยาว

วัคซีนทารกแรกเกิด

  1. วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG Vaccine) ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล
  2. วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) เข็มที่ 1 ฉีดภายใน 24 ชั่วโมงหลังเด็กเกิด

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 1 เดือน

  1. วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) เข็มที่ 2

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน

  1. วัคซีนรวม 5 โรค (วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-วัคซีนโปลิโอ-วัคซีนฮิป )  เข็มที่ 1(สำหรับอายุ 2 เดือน) ,เข็มที่ 2 (สำหรับอายุ 4 เดือน)
  2. วัคซีนไวรัสโรต้า (RV) ป้องกันโรคท้องร่วงหยอดเข้าที่ปาก ครั้งที่1 (สำหรับอายุ 2 เดือน) ,ครั้งที่2 (สำหรับอายุ 4 เดือน)
  3. วัคซีนเสริม : วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ  (IPD) ครั้งที่ 1(สำหรับอายุ 2 เดือน) ,ครั้งที่ 2 (สำหรับอายุ 4 เดือน)

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 6 เดือน

  1. วัคซีนรวม 6 โรค (วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-วัคซีนโปลิโอ-วัคซีนฮิป-วัคซีนตับอักเสบบี)  เข็มที่ 3
  2. วัคซีนไวรัสโรต้า (RV) ป้องกันโรคท้องร่วง ครั้งที่ 3
  3. วัคซีนเสริม : วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ  (IPD) ครั้งที่ 3

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 9-12 เดือน

  1. วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมันและคางทูม (MMR) เข็มที่ 1
  2. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี เข็มที่ 1
  3. วัคซีนเสริม : วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เข็มที่ 1 โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน1 เดือนในครั้งแรก หลังจากนั้นแนะนำฉีดปีละครั้ง

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 12-15 เดือน

  1. วัคซีนเสริม : วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) ป้องกันโรคปอดบวม เข็มที่ 4
  2. วัคซีนเสริม : วัคซีนอีสุกอีใส เข็มที่ 1
  3. วัคซีนเสริม : วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV) เข็มที่ 1 ชนิดไม่มีชีวิตให้ 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 18 เดือน

  1.วัคซีนรวม 5 โรค (วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-วัคซีนโปลิโอ-วัคซีนฮิป) เข็มที่ 4


วัคซีนเด็กช่วงอายุ 2-4 ปี

  1. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) เข็มที่ 2 (แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 2-2 ½ ปี)
  2. วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมันและคางทูม (MMR) เข็มที่ 2
  3. วัคซีนอีสุกอีใส เข็มที่ 2

วัคซีนเด็กช่วงอายุ 4-6 ปี

  1. วัคซีนรวม 4 โรค (วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-วัคซีนโปลิโอ)เข็มที่ 5


วัคซีนเด็กช่วงอายุ 11-12 ปี

  1. วัคซีนเสริม : วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก–ไอกรน (TdaP) กระตุ้น 1 เข็ม จากนั้นฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
  2. วัคซีนเสริม : วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไปโดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน (ฉีดได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โดยในเด็กผู้ชายนั้นสามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้ด้วย)

การปฏิบัติตัวสำหรับการรับวัคซีน


คำถามที่พบบ่อย

ควรตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนตับอักเสบบีหรือไม่ แนะนำในกลุ่มไหน
                ในเด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หลังจากได้รับวัคซีนครบแล้ว แนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบี ที่อายุประมาณ 9-12 เดือน เพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีจริง และยืนยันว่าไม่ติดไวรัสชนิดนี้ด้วย

วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน มีอาการข้างเคียงที่สำคัญอย่างไร
                อาการข้างเคียงที่สำคัญหลังฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ ไข้สูง ร้องกวน ตัวอ่อนปวกเปียก มักเกิดในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีน หากใช้วัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์โอกาสเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้จะลดลง อาการทางสมองที่รุนแรง (encephalopathy) ที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนภายใน 7 วัน ถือเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนไอกรนทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตามพบได้น้อยมาก ให้ใช้วัคซีนคอตีบ บาดทะยักแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้แบบรุนแรง (anaphylaxis) เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ทุกชนิด

ทำไมต้องฉีดวัคซีนโปลิโอตอนอายุ 4 เดือนร่วมกับหยอดโปลิโอด้วย
                ปัจจุบันวัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV) มีส่วนประกอบเป็นเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ 1 และ 3 เท่านั้น ไม่มีเชื้อโปลิโอสายพันธุ์ที่ 2 เนื่องจากไม่พบการระบาดของสายพันธุ์นี้ และคาดว่ากำจัดได้หมดแล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการระบาดใหม่ที่อาจพบได้จากเชื้อในธรรมชาติ จึงต้องรับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ที่มีทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งพบว่า เมื่อให้ IPV 1 เข็ม ที่อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี จึงแนะนำให้เด็กอายุ 4 เดือน ที่รับวัคซีน OPV ต้องรับวัคซีน IPV ด้วย

วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ควรเริ่มให้อายุเท่าไหร่ กี่เข็ม
                ปัจจุบันแนะนำให้เริ่มให้ MMR เข็มแรกที่อายุ 9 เดือน-1 ปี การที่รับวัคซีนก่อนหน้าเร็วเกินไป วัคซีนจะไม่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันเนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันแม่ที่ยังหลงเหลืออยู่ ขัดขวางการสร้างภูมิในตัวของเด็ก เข็มที่สองให้เมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ต่างจากชนิดเดิมอย่างไร
                วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีปัจจุบัน ผลิตจากไวรัสที่อ่อนกำลังลง นำมาทดแทนวัคซีนเดิมที่ผลิตมาจากเชื้อตาย วัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่อ่อนกำลังต้องฉีด 2 เข็ม มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนเชื้อตายที่ต้องฉีด 3 เข็ม และอาจพบผลข้างเคียง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน ไข้ ปวดศีรษะ ลมพิษ หรือภาวะสมองอักเสบเฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตามวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นนี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

วัคซีนเอชพีวี สามารถให้ในเด็กชายได้หรือไม่
                สามารถให้ได้ วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งที่ทวารหนักได้ แต่ปัจจุบันวัคซีนนี้ยังไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กชายไทย วัคซีนเอชพีวีชนิด 4 สายพันธุ์มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศและทวารหนักได้ด้วย

ถ้าได้รับวัคซีนไม่ครบ จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่หมดหรือไม่
ไม่ต้องเริ่มนับใหม่ ให้ฉีดต่อจนครบ

พัฒนาการของลูกน้อย ที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์
พัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรงตามวัยของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่ ทุกท่านต้องการ ดังนั้น การดูแลลูกตั้งแต่การตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะพัฒนาการที่สมบูรณ์เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์

ก่อนการตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวอย่างไร?
หากมีโรคประจำตัวอยู่ คุณแม่ควรควบคุมดูแลให้ดีก่อนตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจาง

ตรวจเลือดหาโรค
- โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหัดเยอรมัน เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกัน
- โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ เพื่อการรักษาไม่ให้โรคส่งผลถึงตัวเด็กได้
- โรคธาลัสซีเมีย หากมีปัญหา จะได้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก

ให้ความสำคัญกับวิตามิน
- วิตามินโฟเลต ลดความเสี่ยงต่อภาวะพิการของระบบประสาทและสมองในเด็ก
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร?
ไปพบแพทย์เพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ และทำการฝากครรภ์ ตรวจผลเลือด ทำการปรึกษาแพทย์ในเรื่องโรคประจำตัวต่างๆ ยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ , โรคพันธุกรรมต่างๆ ในครอบครัว (ถ้ามี) รวมไปถึงกรุ๊ปเลือด

12 สัปดาห์แรก  
เตรียมรับมือกับอาการแพ้ท้อง ทานอาหารที่สามารถทานได้ ยังไม่ต้องคำนึงถึงการบำรุงมากนัก ยังไม่จำเป็นต้องทานยาบำรุงเลือด หรือแคลเซียม หรือนม ให้ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณท้องน้อย หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การมีเพศสัมพันธ์ คุณแม่มือใหม่สามารถออกกำลังกายได้ แต่ห้ามรุนแรง ห้ามหักโหม แนะนำให้ใช้วิธีการเดินดีกว่าวิ่ง และสามารถว่ายน้ำได้ ระมัดระวังการใช้ยาให้มากเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถใช้ยาแก้ปวดประเภท Paracetamol, ยาแก้หวัด Cholotpheniramine , ผงเกลือแร่
*และหากมีความจำเป็นต้องทำฟัน คุณแม่ต้องแจ้งคุณหมอทุกครั้ง “ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่”
*อย่าลืมหลีกเลี่ยง สารพิษและมลภาวะ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรค เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สุกใส โรคไข้หวัดใหญ่

11-14 สัปดาห์
สังเกตได้ว่าหน้าท้องจะใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ อาการแพ้จะเริ่มน้อยลง ทานอาหารได้มากขึ้น ควรเริ่มทานยาบำรุงเลือด เริ่มดื่มนม ทานอาหารที่มีประโยชน์กับครรภ์มากขึ้น ควรงดน้ำตาล ลดของหวาน ลดอาหารจำพวกไขมัน เน้นทานโปรตีน ผัก ผลไม้ 
ควรหาเวลามาตรวจอัลตร้าซาวด์ หรือตรวจเลือดเพื่อเช็คดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับลูก เช่น การเกิดดาวน์ซินโดรม (เกิดมากให้กลุ่มคุณแม่ช่วงอายุมากกว่า 35 ปี)

16 -18 สัปดาห์
(ในกรณีคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการที่ลูกอาจเป็นดาวน์ซินโดรม แนะนำให้เข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ) หาความรู้เรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ วิธีการเลี้ยงดูลูกหลังคลอด เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเวลาสบายที่สุดของคุณแม่ เพราะอาการแพ้ท้องจะเริ่มน้อยลง หรือไม่ค่อยแพ้ท้อง หากรอหลังคลอด คุณแม่อาจไม่มีเวลานั่งศึกษาข้อมูล เพราะอาจจะต้องวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยได้

20-22 สัปดาห์
หน้าท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้นถึงระดับสะดือ เริ่มสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เบาๆ แนะนำให้ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูอายุครรภ์ ตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อย ของรก และน้ำคร่ำ เน้นดูแลเรื่องอาหารการกิน ดื่มนมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ไม่แนะนำให้ใส่ชุดที่รัดหน้าท้อง

24 สัปดาห์
หน้าท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้นเหนือสะดือ รู้สึกถึงการดิ้นของลูกน้อยได้อย่างชัดเจน เน้นเข้มงวดเรื่องการทานยาบำรุงเลือด แคลเซียม และการดื่มนม (วันละ 2 แก้ว) ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ อย่าลืมเรื่องอาหารเป็นพิเศษ งดของหวาน  น้ำหวาน ไขมัน เน้นทานโปรตีน ผัก ผลไม้ ควบคุมดูแลให้น้ำหนักอยู่ที่สัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ไม่ควรเกินหนึ่งกิโลกรัม (ชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน) ห้ามใช้วิธีการอดอาหาร ห้ามลดน้ำหนัก

28 สัปดาห์
สังเกตการดิ้นของลูกน้อยทุกวัน และให้นับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น เด็กที่แข็งแรงจะดิ้นมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ถ้าเกิดการตะคริว แสดงว่าลูกน้อยได้นำแคลเซียมจากตัวคุณแม่ไปใช้มาก แนะนำให้คุณแม่ทานนมให้มากขึ้น พักผ่อนให้มาก เดินและยืนให้น้อยลง ฟังเพลงสบายๆ จะเป็นเพลงคลาสสิก เพลงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกผ่อนคลาย จะได้อารมณ์ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อย
*หากคุณแม่ใส่แหวนอยู่ ควรถอดแหวนออกก่อนแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าถึงตอนใกล้คลอดนิ้วมืออาจจะบวม หากต้องผ่าตัดคลอด อาจเป็นอุปสรรคกับกระบวนการผ่าตัดได้
*คุณแม่ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้นสูง เนื่องจากสรีระมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จะทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และอาจทำให้ปวดหลังอีกด้วย

32 สัปดาห์
ตรวจเลือดติดตามภาวะโลหิตจาง ตรวจน้ำตาลในเลือด อย่าลืมนับจำนวนครั้งที่ลูกน้อยดิ้นทุกวัน พักผ่อนให้มาก ระมัดระวังการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หากมีอาการท้องแข็งบ่อยๆ แสดงว่าคุณแม่อาจจะเดินมากเกินไป ต้องพักผ่อนให้มากขึ้น เดินหรือยืนให้น้อยลง ยิ่งหากท้องแข็ง และมีอาการปวดตึงท้องร่วมด้วย ยิ่งต้องพักผ่อนให้มาก ห้ามฝืนเดินหรือทำงานต่อ
แนะนำให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก การนอนหงายอาจทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกได้ ทั้งนี้ คุณแม่สามารถนอนท่าไหนก็ได้ที่รู้สึกว่าสบาย หายใจได้ตามปกติ ไม่แน่นหน้าอก และลูกในครรภ์ดิ้นปกติ (หากลูกดิ้นมากผิดปกติแสดงว่าลูกอาจไม่ชอบท่าที่คุณแม่นอนอยู่) ให้พลิกตัวเปลี่ยนท่านอน และห้ามนอนคว่ำโดยเด็ดขาด
*ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเพราะท้องใหญ่อาจเกิดอันตราย
*น้ำมะพร้าวดื่มได้ แต่อย่ามาก เพราะน้ำตาลในเลือดอาจสูงผิดปกติได้

36 สัปดาห์
สังเกตอาการเจ็บครรภ์ (ท้องแข็ง และจะตึงเล็กน้อย เป็นแค่ครั้งหรือสองครั้งและจะหายไป อาการจะไม่ต่อเนื่อง ) อย่าลืมนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น ช่วงนี้ลูกอาจจะดิ้นเบาลง เพราะลูกน้อยเริ่มโตตัวใหญ่ขึ้น ถ้าดิ้นเกิน 10 ครั้ง ถือว่าเป็นปกติ และควรจัดการตัวเอง ก่อนที่จะเตรียมตัวคลอด
  - เคลียร์งานทุกอย่างที่ทำอยู่ให้เรียบร้อย
  - ควรวางแผนในการเดินทาง ไปโรงพยาบาลหากเจ็บครรภ์ ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน
  - การติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
  - ที่สำคัญเลย เตรียมตั้งชื่อเจ้าตัวน้อยไว้ด้วย
  - นำสมุดฝากครรภ์ไปด้วย

ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กของคุณพ่อ-คุณแม่ มีพัฒนาการที่สมบูรณ์และแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์

-----
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Inbox : https://bit.ly/2xNaFc1
Line : @patrangsit หรือคลิก >> https://bit.ly/33p9nzw

ทำไมลูกน้อยถึงควรได้รับวัคซีน
พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจพอรู้อยู่บ้างว่าลูกน้อยควรได้รับวัคซีน แต่อาจไม่รู้ว่า...การรับวัคซีนของลูกน้อยนั้นจำเป็นต้องได้รับตรงตามวัยด้วย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องโรคร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กได้
 

  1. การให้วัคซีนที่ถูกกำหนดไว้ตามช่วงอายุ จะสามารถทำให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้อย่างเหมาะสม โดยช่วงการรับวัคซีนตามแต่ละช่วงวัยนั้น อ้างอิงจากตารางการรับวัคซีนที่แนะนำ เช่น CDC, กระทรวงสาธารณสุข, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
  2. การรับวัคซีนล่าช้าอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ การรับวัคซีนตามกำหนดเวลาจึงช่วยปกป้องลูกน้อยจากโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก
  3. ร่างกายต้องการระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค และวัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องได้รับหลายเข็ม ดังนั้น ไม่ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนเกินระยะเวลาที่แนะนำ หากมีความจำเป็นควรปรึกษาแพทย์
  4. วัคซีนบางชนิดต้องการการกระตุ้น หรือรับวัคซีนมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันลูกน้อย และเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
  5. การฉีดวัคซีนถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ในระยะยาว เพราะแม้ว่านมแม่ให้ภูมิคุ้มกันที่มีประโยชน์ แต่ไม่สามารถป้องกันเด็กจากโรคติดเชื้อได้ทุกชนิด
  6. เด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลา ไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเองแต่ยังสามารถแพร่กระจายความเจ็บป่วยไปยังผู้อื่นได้ดังนั้น ลูกน้อยควรได้รับวัคซีนตรงเวลาเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปยังผู้อื่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้