การรักษารากฟัน สำคัญขนาดไหน? คืออะไร ?
รากฟัน คือ รากฟันเป็นส่วนที่ต่อจากตัวฟันที่อยู่ใต้เหงือก วางตัวอยู่ในบริเวณกระดูกเบ้าฟันซึ่งภายในของรากฟันจะประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็นโพรงประสาทฟันซึ่งจะอยู่ด้านใน ทำหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงฟันและเส้นประสาทการรับรู้ความรู้สึกของฟัน
สาเหตุของการรักษารากฟันมีอะไรบ้าง ?
สาเหตุส่วนใหญ่เลยที่ต้องรักษารากฟันเนื่องจาก มีฟันผุที่มีขนาดใหญ่หรือลึกมากๆ จนฟันที่ผุทะลุเข้าไปในโพรงประสาทฟัน ซึ่งในส่วนนี้ถ้าเกิดทะลุเข้าไปในโพรงประสาทฟันแล้ว จะทำให้โพรงประสาทฟันอักเสบ และติดเชื้อ จึงเป็นที่มาของการรักษารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องทำการกำจัดการอักเสบในโพรงประสาทฟันออกหรือว่าตัดส่วนโพรงประสาทฟันที่อักเสบออกไป เพื่อลดการอักเสบ และการเกิดโรคในรากฟัน ต่อมาก็จะมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น การที่มีฟันร้าว หรือว่าฟันได้รับอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังเกิดจากการที่ฟันเป็นโรคปริทันต์ลึกลงไปรากฟัน จนทำให้ฟันตาย อาการแบบนี้ก็จะต้องรักษารากเช่นเดียวกัน
อาการที่บ่งบอกว่าควรได้รับการรักษารากฟัน
อาการเริ่มต้นที่จะต้องรักษารากฟัน คือ เริ่มมีอาการปวดฟัน ส่วนใหญ่จะปวดขึ้นเอง และมีอาการปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยอาการปวดจะไม่สามารถหายไปเองได้ และยังพบว่ามีอาการเสียวฟัน อาการดังกล่าวเหล่านี้ก็จะเป็นอาการเบื้องต้นแรก ๆ ที่จะต้องเข้ามาตรวจเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษารากฟัน
วิธีการรักษารากฟันมีอะไรบ้าง ?
วิธีการรักษารากฟันเริ่มต้น จะใส่ยาชาก่อน และใส่แผ่นยางกันน้ำลาย เพื่อป้องกันน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือเนื้อฟันที่เรากรอลงไปในคอ หลังจากนั้นจะกรอฟัน และเปิดเข้าไปในโพรงประสาทฟัน เพื่อจะกำจัดโพรงประสาทฟัน หรือเชื้อโรคออก และล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นน้ำยาล้างคลองรากฟัน และมีการใส่ยาไว้ในคลองรากฟัน รอจนกระทั่งอาการหายดี และหากมีตุ่มหนองก็รอจนกระทั่งตุ่มหนองปิดหรือหายดีแล้ว หรือมีอาการบวมที่ลดลงจนหายแล้ว
การรักษารากฟันและการดูแล
ควรงดรับประทานอาหารแข็ง และอาหารเหนียว เพราะว่าการรับประทานอาหารแข็งหรือเหนียว ระหว่างรักษารากฟัน ส่วนใหญ่จะทำให้ฟันที่รักษาอยู่แตกออกจากกัน ซึ่งฟันที่แตกแล้วจะไม่สามารถบูรณะให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติได้อีก
บทความโดย
ทพ.อานนท์ชัย จันทร์สุนทรภาส
คุณแม่ตั้งครรภ์.... ทำฟันได้หรือไม่?
คุณแม่หลายๆ ท่านคงจะกังวลอยู่กับคำถามที่ว่า "เราตั้งครรภ์ สามารถทำฟันได้ไหม? จะมีผลอะไรกับลูกหรือไม่ ?" บทความนี้จะมาไขปัญหาให้กับคุณแม่กัน
ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือนขึ้นไป ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือกมากกว่าปกติ เหงือกจึงอักเสบได้ง่าย และมักจะอักเสบมากกว่าปกติ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจเป็นโรคเหงือกได้ตั้งแต่ระดับเหงือกอักเสบธรรมดา ไปจนถึงโรคปริทันต์ หรือรำมะนาด คือ เหงือกอักเสบร่วมกับเอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟันการอักเสบ
นอกจากนี้คุณแม่อาจจะพบโรคในช่องปากอื่นๆ ในแม่ท้อง เช่น
แม่ท้อง แล้วฟันผุเพราะลูกดึงแคลเซียมจากแม่ไปสร้างกระดูกและฟันของลูกจริงหรือ?
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน และฟันผุนั้น เป็นเพราะลูกดึงเอาแคลเซียมไปจากแม่ ความจริงแล้วแคลเซียมจากฟันไม่สามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อยได้ ถ้ามีความต้องการแคลเซียมมาก ลูกจะดึงแคลเซียมจากกระดูกของแม่ไปใช้ก่อน
สาเหตุที่แม่ท้องฟันผุง่ายและบ่อย
ก็เพราะว่าคุณแม่ท้องมักหิวบ่อย ทำให้กินบ่อย กินจุบจิบ กินอาหารรสจัด เช่น กินของเปรี้ยวๆ เพื่อลดอาการแพ้ท้อง เป็นต้น ทำให้ฟันของคนท้องสัมผัสกับอาหารบ่อยขึ้น เศษอาหารติดตามซอกฟัน มีกรดเพิ่มขึ้น จึงเกิดการกัดกร่อนของฟัน เป็นสาเหตุให้ฟันผุง่าย
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้เหงือกบวมแดง อักเสบและเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน คุณแม่ท้องจึงไม่ค่อยกล้าแปรงฟัน ทำให้แปรงไม่ทั่ว ไม่สะอาดเพียงพอ จนเกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ติดตามคอฟัน สะสมนานเข้ากลายเป็นหินปูน ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย
ดังนั้นหากคุณแม่ฟันผุ เป็นเพราะพฤติกรรมการกิน และการแปรงฟันไม่สะอาดของคุณแม่เองต่างหาก
การดูแลช่องปากและฟันสำหรับแม่ท้อง
คุณแม่ท้องสามารถป้องกันฟันผุและเหงือกอักเสบในระหว่างตั้งครรภ์ได้ดังนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน