โรคไข้เลือดออก วายร้าย มาพร้อมช่วงหน้าฝน

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ซึ่งโรคนี้มี ยุงลายเป็นพาหนะนำโรค ระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี มักพบในพื้นที่ประเทศเขตร้อน กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี , 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ

เมื่อยุงลาย ดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

อาการป่วยไข้เลือดออกครั้งแรก จะไม่ค่อยรุนแรงมาก แต่หากเป็นครั้งที่ 2 จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เลือดออก และช็อกได้ ส่วนการวินิจฉัยโรคในช่วงแรกจะแยกจากอาการไข้ทั่วไปค่อนข้างยาก ต้องตรวจจากการเจาะเลือด ซึ่งหากป่วยเพียง 1-2 วัน การเจาะเลือดอาจจะไม่พบเชื้อ ต้องใช้เวลา 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย

กรณีที่เป็นหนักมากๆ

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการเพื่อประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

การดูแลอาการเบื้องต้น

ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ รับประทานอาหารอ่อน งดอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีสีคล้ายเลือด เพื่อไม่ให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน อาจรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอลได้แต่ในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น

ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น หากพบว่าผู้ป่วยอาเจียนมาก ปวดท้องมาก ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวเย็นผิดปกติ ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

แม้วิตามิน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สำคัญ เพราะวิตามินมีส่วนสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างมาก ดังนั้น "การตรวจหาระดับวิตามิน" จะช่วยทำให้เรารู้ลึกลงไปว่า ร่างกายกำลังขาดวิตามินกลุ่มใด และนำไปสู่การเสริมวิตามินกลุ่มนั้นกลับเข้าไป เพื่อให้กลไกการทำงานของร่างกายมีความสมบูรณ์มากขึ้น

การตรวจวิตามินหลักๆ ที่สำคัญมีอะไรบ้าง?

จะขอแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

อาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าเรากำลังขาดวิตามิน

จริงๆ แล้วการตรวจระดับวิตามินสามารถตรวจได้ในคนทั่วๆ ไป กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องรอมีอาการ แต่ทั้งนี้ในกลุ่มที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจอย่างยิ่ง หรือในกลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าตนเองทานสารอาหารครบ 5 หมู่หรือเปล่า ต้องการตรวจหาสภาวะโภชนาการก็สามารถตรวจหาได้เช่นกัน

แต่ถามว่า “อาการ” แบบไหน ควรรีบตรวจและมาพบแพทย์ ....

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจวิตามิน

นอกจากการตรวจระดับวิตามินแล้ว มีการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงอย่างอื่นอีกไหม

นอกจากการตรวจระดับวิตามินแล้ว จะมีการตรวจหาระดับโลหะหนัก และการตรวจหาระดับฮอร์โมนในร่างกาย ตรวจเรื่องความหนาแน่นของกระดูก และตรวจหา Oxidative Stress test

สำหรับท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ หากมีความสนใจในเรื่องของเวชศาสตร์ชะลอวัย แม้อายุยังน้อย ไม่อยากแก่เร็ว ไม่อยากป่วย การตรวจหาระดับวิตามินจะช่วยเราป้องกันความเสี่ยง และเป็นแนวทางในการส่งเสริมวิตามินที่ขาดเข้าสู่ร่างกายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น

รับชม Video "วิตามินที่สำคัญมีอะไรบ้าง?" ได้ที่ :

บทความโดย
พญ.แก้วใจ สันตินันตรักษ์

โรคความดันโลหิตสูง โรคที่ใกล้ตัว ก่ออาการแทรกซ้อน (Hypertension)

ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดภาวะแรงดันเลือดภายในร่างกายมากกว่าปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในโรคระบบทางเดินหายใจ และหลอดเลือด และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ มีการเสื่อมสลาย ของอวัยวะต่าง ๆ ที่สาม!! ได้แก่ หลอดเลือดตีบ ไตเสื่อมสมรรถภาพ หัวใจวาย เป็นต้น อาการเสื่อมต่าง ๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกจึงไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรโรคนี้ถ้าได้รับการวินิจฉัย การป้องกันรักษาแต่แรก ก็จะสามารถป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ได้

อาการที่พบในโรคความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปแล้วมักจะพบว่า...

  1. ปวดหรือเวียนหัว มึนงง
  2. ตาพร่ามัว
  3. เหนื่อยง่าย

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง หรือถ้าเป็นแล้วควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ดูแลน้ำหนักร่างกายให้พอดี โดยการควบคุมปริมาณอาหาร และหมั่นออกกำลังกายที่พอดีและเหมาะสม เช่น การเดิน การวิ่ง เป็นต้น รวมไปถึงการลดปริมาณแอลกอฮอล์
  2. ควรงด เหล้าและบุหรี่
  3. ควรหลีกเลี่ยงในสิ่งต่างๆที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัด

ไขข้อสงสัย การตรวจมะเร็งเต้านม
ตรวจก่อน รู้ทัน

รวมคำถามยอดฮิต ก่อนการตรวจมะเร็งเต้านม

          ไม่ว่าเราจะรักใครมากแค่ไหน การรักตัวเองเป็นสิ่งที่มีค่าที่ไม่ควระลทิ้ง และสำหรับผู้หญิงทุกคน การรักตัวเองก็ควรต้องใส่ใจที่จะดูแลตัวเองให้แข็งแรงเพื่อจะได้มีพลังอยู่กับคนที่เรารักนานๆ และเมื่อเอ่ยถึงภัยร้ายใกล้ตัวผู้หญิงในปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมก็คงเป็นโรคที่พบมากที่สุดของผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคนิ้กว่า 20,000 คน ซึ่งสถิติที่น่ากลัวมาก และวิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม เพราะการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีเกือบ 100% แต่ถ้าพบในระยะสุดท้ายของโรคโอกาสเสียชีวิตจะมาก โดยวันนี้หมอขอนำคำถามยอดฮิตมาตอบให้ทุกคนทราบ

คำถามพบบ่อยที่ 1 : หลายคนสงสัย คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร ?

คำตอบ : คือ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ ด้วยการตรวจเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์

คำถามพบบ่อยที่ 2 : ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมบ้าง ?

คำตอบ : ผู้หญิงอายุ 20 – 40 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ และผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี ตรวจแมมโมแกรมปีละหนึ่งครั้ง ยกเว้นผู้ที่มีแม่บุตรสาว พี่น้องเป็นมะเร็งเต้านมควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 40 ปี

คำถามพบบ่อยที่ 3 : ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคืออะไร?

คำตอบ : เพื่อโอกาสในการพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม

คำถามพบบ่อยที่ 4 : ขณะมีประจำเดือนตรวจได้หรือไม่

คำตอบ : ควรมาตรวจหลังจากมีประจำเดือน แล้ว 7 วัน เพราะเนื่องจากขณะมีประจำเดือน เต้านมจะมีอาการคัด ทำให่เวลาตรวจจะมีอาการเจ็บและแปลผลได้ยากกว่า และไม่ควรทาแป้งหรือสารระงับกลิ่น บริเวณรักแร่หรือเต้านมขณะมารับการตรวจ เนื่องจากจะทำให้การแปลผลผิดพลาดได้ 

คำถามที่พบบ่อยที่ 5 : ต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจหรือไม่

คำตอบ : ไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนมารับการตรวจ

คำถามที่พบบ่อยที่ 6 : ถ้าผลผิดปกติควรทำอย่างไร?

คำตอบ : ไม่ควรตกใจ เนื่องจากไม่ใช่มะเร็งทุกคน ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ เพื่อยืนยันอีกครั้ง ถ้าแพทย์สงสัยจะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

คำถามที่พบบ่อยที่ 7 : การตรวจแมมโมแกรมบ่อยๆ ทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่

คำตอบ : ยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งมากขึ้น เนื่องจากปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมากๆ

คำถามที่พบบ่อยที่ 8 : การตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียงพอหรือไม่

คำตอบ : ยังไม่แนะนำให้ตรวจมะเร็งเต้านมตัวเองเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะทำให้พบมะเร็งเต้านมล่าช้า กว่าการตรวจแมมโมแกรม และทำให้การรักษาล่าช้า จนผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้

          มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงอับดับต้นๆ แต่ถ้าพบได้ในระยะแรกของโรค โอกาสรอดชีวิตจะมีเกือบ 100% ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีประโยชน์มาก ถ้าอยากจะอยู่กับคนที่เรารักนานๆ การดูแลสุขภาพตัวเองก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หมั่นดูแลตัวเองและสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ “เพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก”

บทความโดย
 พญ.สุนิสา ชัยประเสริฐ

ก่อนฉีดต้องรู้! ยาที่ห้ามกินก่อนฉีดวัคซีน COVID-19

สำหรับท่านที่กำลังจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ควรเตรียมตัวเองให้พร้อม ทั้งการตรวจสอบร่างกายของตนเอง สังเกตอาการตนเองว่าต้องไม่มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วย, การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ, การงดออกกำลังกายอย่างหนัก

รวมไปถึงการจัดเตรียมเอกสาร หรือข้อมูลเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการฉีดวัคซีน ว่าท่านมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง?, มีประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีนไหม? , สำหรับคุณผู้หญิงมีการตั้งครรภ์หรือไม่? และข้อมูลอื่นๆ ที่แพทย์ควรต้องทราบ
สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว และมียาที่ต้องทานเป็นประจำ ท่านอาจต้องดูว่ายาที่ท่านทานนั้นส่งผลอะไรต่อการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือไม่?

โดยยาที่ห้ามทานก่อนฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ได้แก่
- ยาแก้ไมเกรน กลุ่ม CAFERGOT, RELPAX ห้ามทานในวันที่ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้หลอดเลือดเกร็ง และมีความดันที่สูงขึ้น
- ยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDS ที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ เช่น IBUPROFEN, ARCOXIA, CELEBREX เป็นยาที่ห้ามทานเด็ดขาดหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะจะส่งผลให้วัคซีนทำงานได้ไม่เต็มที่ หากท่านมีอาการปวดแขน ให้ทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดแทน

อีก 1 ข้อที่ควรงดในวันที่เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ก็คือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้หลอดเลือดเกร็ง และมีความดันที่สูงขึ้นเช่นเดียวกับยาแก้ไม่เกรน

สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง

  1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคมะเร็ง
  6. โรคเบาหวาน
  7. โรคอ้วน สามารถทานยาได้ตามปกติโดยไม่ต้องงดยารวมถึงท่านที่ทานยาละลายลิ่มเลือดด้วยเช่นกัน

กรณีที่ท่านมีอาการปวดแขน สามารถทานยาพาราเซตามอลได้หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ห้ามทานล่วงหน้าโดยเด็ดขาด

ข้อควรปฏิบัติ

ทำไม ? คนที่เป็นโรคอ้วน อาการแย่ลงมากกว่าคนปกติเมื่อติด COVID-19

หลายท่านอาจจะกำลังสงสัยกันว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามี "ภาวะอ้วน" โดยเราจะคำนวณดัชนีมวลกายหรือ BMI ได้โดย การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และ หารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งสูตรนี้สามารถใช้ได้ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย

โดยเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้วัดภาวะอ้วน คือ BMI : Body Mass Index คือ

เมื่อทราบกันแล้วว่าตนเอง หรือคนในครอบครัวมี "ภาวะอ้วน" หรือไม่ ต่อไปเรามาดูเหตุผลที่ทำไมคนที่เป็นโรคอ้วน ถึงมีอาการแย่ลง มากกว่า คนปกติเมื่อติด COVID-19 กันค่ะ

คนที่เป็นโรคอ้วน จะมีภูมิต้านต่ำกว่าปกติในทางการแพทย์ พบว่าคนกลุ่มนี้ ถ้าติด COVID-19 อาจจะมีอาการรุนแรง และเสียชีวิตง่ายกว่าคนที่สุขภาพแข็งแรง ดูได้จากปรากฏการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ทำให้คนอ้วนจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรงกลุ่มแรกๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs
คนที่เป็นโรคอ้วน มักจะมีโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันอุดตันในเส้นเลือดสูง ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดต่างๆ ฉะนั้นเวลาเจ็บป่วยแล้วเจอเชื้อไวรัส ภูมิต้านทานจะทำให้อวัยวะต่างๆ อักเสบมากขึ้น ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจทำให้แย่ลง ปอดแย่ลง ไตแย่ลง จนถึงขั้นทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ เสียได้ รุนแรงที่สุด ถึงขั้นเสียชีวิต
คนที่เป็นโรคอ้วน จะมีภาวะการทำงานของเม็ดเลือดขาวไม่เท่ากับคนปกติฉะนั้นเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เวลาเจ็บป่วยการที่เม็ดเลือดขาวจะไปสร้างภูมิต้านทานเพื่อฆ่าเชื้อโรคก็จะอ่อนแอกว่าคนปกต

ความอ้วน จะทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในช่องท้อง ซึ่งจะดันกระบังลมขึ้นไปเบียดกับขนาดของปอด ส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายและหายใจลำบาก ดังนั้น เมื่อปอดมีขนาดเล็กลงจึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายและรักษาหายช้ากว่าปกติ

ฉะนั้นเรื่อง "ปอด" ถือเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเรื่องการอักเสบของโรคต่างๆ และภูมิต้านทานที่ต่ำลงแล้ว และความจุของปอดจากโรคอ้วน จึงทำให้คนที่เป็นโรคมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ

โควิดจบ แต่อาการไม่จบ มารู้จักภาวะ “ลองโควิด (Long COVID)” โดย พญ.ศิวาพร เจริญทัศน์ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลแพทย์รังสิต

อาการ “ลองโควิด (Long COVID)” หรือเรียกอีกอย่างว่า "Post COVID-19" คือ อาการที่หลงเหลืออยู่หลังติดเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งสามารถเกิดผลกระทบระยะยาวต่อผู้ป่วย แม้ผลตรวจเชื้อจะเป็นลบแต่ยังคงมีอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตัว ไอ เจ็บแน่นหน้าอก ไปจนถึงนอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดได้ถึง 30 -80% ของผู้ที่ติดเชื้อ! โดยอาจจะมีอาการยาวนานได้ สาเหตุยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ

เนื่องจากอาการของ Long COVID พบได้มากภายหลังจากหายจากการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว หากท่านอาการผิดปกติ หรือรู้สึกไม่เหมือนเดิมภายหลังจากหายจากโรค COVID-19 แล้ว แนะนำมาตรวจสุขภาพ ที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลแพทย์รังสิต เรามีแพ็กเกจตรวจสุขภาพหลัง COVID-19 ราคาพิเศษ เพื่อค้นหาและรักษาให้ท่านสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

บทความโดย
พญ.ศิวาพร เจริญทัศน์

ภาวะลองโควิด เป็นอาการที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากโรคการติดเชื้อโรคโควิดในช่วงแรกไปแล้ว อาการที่พบได้จะมีหลากหลายพบอาการได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบบ่อยสุดมี 3 อย่างคือ เหนื่อยง่าย อาการทางสมองเช่นสมาธิลดลง และ อ่อนเพลีย อาการอื่นๆที่พบได้รองๆลงมาได้แก่ ปวดหัว ผมร่วง เหนื่อยง่าย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เจ็บหน้าอก การพูดลำบาก วิตกกังวล ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไข้ ไอ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ความจำเสื่อม อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ผื่นตามตัว ใจสั่น เป็นต้น อาการเหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง แม้ว่าจะหายจากความรุนแรงของโรคในช่วงแรกแล้ว

ลองโควิดพบได้บ่อยเพียงใด
อาการช่วงแรกจากเชื้อโควิดโดยทั่วไปควรจะมีอาการนานไม่เกิน 2สัปดาห์ แต่ในการศึกษารวบรวมรายงานต่างๆพบว่าหลัง 2 สัปดาห์ไปแล้วซึ่งเราเรียกว่าเป็น ช่วงหลังภาวะเฉียบพลัน (post acute Covid-19) พบว่าเกือบ 80% ของผู้ป่วยยังมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง และเมื่อติดตามระยะยาวพบว่า 2.3-10% ของผู้ป่วยังคงมีอาการบางอย่างต่อไปได้นานเกินกว่า 3 เดือน เราเรียกว่าเป็นช่วงเรื้อรัง (chronic Covid-19) เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่อาการของลองโควิดเหล่านี้จะอยู่ได้นานเท่าไหร่ยังบอกได้ไม่แน่ชัด แต่พบว่าบางรายอาจจะมีอาการต่อเนื่องนานได้มากกว่า 9-12เดือน

เด็กสามารถเป็นลองโควิดได้หรือไม่

ลองโควิดในเด็กก็พบได้เช่นกัน อาจจะมีอาการทางกายเหนื่อยง่ายปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง ท้องเสีย ใจสั่น ได้ผู้ใหญ่เหมือนในผู้ใหญ่ แต่การวินิจฉัยในเด็กจะยากกว่าในผู้ใหญ่เพราะจะอธิบายให้เราทราบลำบากกว่า และโดยเฉพาะถ้ามีอาการทางด้านสมอง เช่นสมาธิที่ลดลง ความจำลดลง มีปัญหาด้านการเรียน หรือปัญหาด้านจิตใจ เนื่องจากการวินิจฉัยโรคยากกว่าในผู้ใหญ่จากรายงานพบว่าหลังการติดเชื้อโควิดเด็กไปแล้ว 1 เดือน เด็กยังมีอาการหลงเหลือที่บ่งว่ามีภาวะลองโควิดอยู่มากกว่า 4.6% (โรคมิสซี,MIS-C ที่มีการอักเสบของอวัยวะหลายๆอย่างและเกิดตามหลังการติดเชื้อโควิดในเด็กเช่นกัน แต่จะมีอาการรุนแรงกว่า ลองโควิด ไม่ได้รวมพูดไว้ในกลุ่มนี้)

การดูแลรักษา
เนื่องจากอาการของโรคมีได้หลากหลายจึงอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ และอาจต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์หลายๆด้าน เพื่อที่จะต้องค้นหาสาเหตุอื่นจากทุกๆด้านที่บ่งชี้ ว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิดในช่วงที่รุนแรงเดิมหรือไม่หรือเป็นความผิดปกติอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ให้สามารถอธิบายอาการที่เกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาในโรคเหล่านั้นร่วมไปด้วยรวมทั้งโรคเบาหวานที่เกิดตามหลังจากโรคโควิด เป็นต้น อย่างไรก็ดีในกรณีของลองโควิดเป็นการรักษาตามอาการและความผิดปกติที่ตรวจพบ เนื่องจากสาเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัด การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโควิด โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเต็มที่ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ตั้งแต่ช่วงแรกจึงมีความสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้