ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) ส่วนประกอบหนึ่งของอวัยวะเพศหญิง ต่อมบาร์โธลินจะอยู่บริเวณปากช่องคลอด มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นขณะปฏิบัติกิจกรรมรัก เมื่อเกิดความผิดปกติจนทำให้ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เกิดบวมโตและมีลักษณะคล้ายถุงน้ำ บ้างเรียกว่า ฝีที่ปากช่องคลอด การอักเสบบริเวณนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวด ระคายเคือง เป็นอย่างมาก
การอักเสบของ ต่อมบาร์โธลิน ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจาก
บทความโดย
พ.ญ.วิทัศศนา เขตต์กลาง
แพทย์เฉพาะทางด้านสูติ-นรีเวช และศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวชขั้นสูง USA
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน และปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ได้แก่...
การตรวจหา หรือวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ระยะก่อนเป็นมะเร็ง
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ Thinprep กับ HPV DNA คืออะไร ต่างกันอย่างไร ?
1. การตรวจแบบ Thinprep : เป็นการเก็บเพียงตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใด แต่จะมีความแม่นยำกว่า Pap smaer
2. การตรวจแบบ HPV DNA เป็นการตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV ที่เกาะบนผิวปากมดลูก โดยสามารถระบุสายพันธุ์ที่ติดเชื้อได้ และสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง
รับชม Video เพิ่มเติม :
“โรคหน้าร้อน ” ที่ แม่ท้อง ต้องระวัง
ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะเผาผลาญอาหารได้ดีกว่าคนทั่วไปถึง 20% ทำให้ร่างกายมีภาวะร้อนกว่าปกติ เกิดภาวะเหงื่อไหลได้ง่าย และในฤดูร้อนยังมีโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก วันนี้หมอจะมาแนะนำการดูแลตัวเองของคุณแม่ในหน้าร้อนกัน
1. โรคลมแดด (Heat Stroke) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนเกิดอาการผิดปกติต่างๆ
2. ภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)
เกิดพร้อมกับโรคลมแดด เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ร่างกายจะขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ ทำให้เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น ภาวะนี้อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
3.ไข้หวัด
หากเป็นไข้หวัดในช่วงตั้งครรภ์อาการจะทุเลาช้ากว่าคนทั่วไปเล็กน้อย เพราะระบบภูมิต้านทานในร่างกายลดต่ำลง ส่วนมากแล้วเชื้อหวัดจะไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อถึงทารก แต่คุณแม่ก็ควรระวัง เพราะหากติดเชื้อหวัดชนิดรุนแรง อาจกระตุ้นให้เกิดการแท้งได้ในช่วง 3 เดือนแรก หรือภาวะคลอดก่อนกำหนดในช่วงไตรมาสท้ายได้
4. อหิวาตกโรค(cholera)
เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ ที่อาจปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม
อาการที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นอาการที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะพบเจอ ดังนั้นการดูแลตัวเองให้สุขภาพดีอยู่เสมอเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยแข็งแรง และในกรณีที่มีอาการผิดปกติควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ทันที
ที่มาจาก นิตยสาร Real Parenting และเว็บไซต์ pobpad
เรียบเรียงบทความโดย
พญ.สุวรรณี บำเรอราช
HPV หรือ Human Papilloma Virus ในปัจจุบันพบเชื้อ HPV มากกว่า 100 สายพันธุ์ (genotypes) แบ่งเป็น...
1. สายพันธุ์เสี่ยงต่ำ ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11,40,42,43,44,54,61,72,81
2. สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16,18,31,33,35,39,45,51,52,56,58,59,68,69,82
HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV พบได้ที่ไหนบ้าง ?
ปกติการติดเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศสามารถพบได้ทั่วไป แต่ที่จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกจริงๆในสตรีนั้นพบเป็นสัดส่วนที่น้อย โดย 75-80% ของคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ได้รับเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศก่อนอายุ 50 ปี ส่วนใหญ่การติดเชื้อ HPV จะเป็นแบบชั่วคราว ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปได้ภายใน 1-2 ปี แต่ถ้าการติดเชื้อเป็นแบบติดทนนาน ก็จะสามารถพัฒนาทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ และพัฒนาไปเป็น HSIL จนเกิดเป็น invasive cancer ใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี
อาการของมะเร็งปากมดลูก
ในระยะเริ่มแรกหรือในระยะก่อนเป็นมะเร็งผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดง (สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ) เมื่อเริ่มเป็นมากขึ้นหรือมะเร็งลุกลามมากขึ้นจะพบว่ามีอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณ 80-90% ดังนี้
ทั้งนี้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วหรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง จะมีอาการดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง ได้แก่...
ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย ได้แก่...
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ ไวรัส HPV
วัคซีน HPV ในประเทศไทย ได้แก่...
การฉีดวัคซีน HPV ทำอย่างไร ?
ทำโดยฉีดวัคซีนจำนวน 0.5 ซีซี เข้ากล้ามเนื้อ ต้นแขนโดยขนาดการฉีดตามอายุ คือ
โดยห่างจากเข็มแรก 2 และ 6 เดือนตามลำดับ ไม่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากการตรวจติดตามภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีนเป็นระยะเวลา 14 ปี ยังสูงพอในการป้องกันการติดเชื้อ*
ข้อควรเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน HPV
บทความโดย
พญ.อัญสุมาลิณทร์ คำขาว
ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มเติม :
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คลิก
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส HPV 9 สายพันธุ์ คลิก
อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ถ้ามีอาการปวดท้องประจำเดือน
ช่วงที่มีประจำเดือน มดลูกจะมีการหลั่งสารเคมีในร่างกายบางชนิด ซึ่งสารนี้จะมีผลไปกระตุ้นให้มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจึงทำให้เกิดอาการปวดท้องตอนมีประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือน เป็นปัญหาของผู้หญิงที่พบได้บ่อย โดยมีการเก็บข้อมูลพบว่าอาการปวดท้องประจำเดือนพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 16 - 91 อาการปวดท้องประจำเดือนมักมีอาการก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน หรือเกิดระหว่างมีประจำเดือนช่วงวันแรกๆ โดยทั่วไปอาการปวดท้องประจำเดือนอาจเกิดได้แต่ไม่มีควรมีอาการมากผิดปกติ และไม่ควรมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวไปที่ก้นกบหรือร้าวลงขา มีอาการเจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ คลำได้ก้อนที่หน้าท้อง ปวดข้างใดข้างหนึ่ง และปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด เป็นต้น
การบรรเทาอาการปวดท้องประเดือนเบื้องต้นด้วยยา
ผู้ป่วยหญิงที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนสามารถรักษาโดยรับประทานยาลดปวดได้ด้วยตนเอง โดยส่วนมากสามารถรับประทานยา Ponstan 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร เช้า เที่ยง เย็น และ/หรือ ร่วมกับยา Paracetamol 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง (ในกรณีที่ไม่มีอาการแพ้ยาดังกล่าว) แต่ไม่ควรรับประทานยาเกินขนาดและเกิน 5 วันเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาได้ และถ้าอาการปวดท้องไม่บรรเทาลง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค เพราะอาจจะไม่ใช่อาการปวดท้องประจำเดือนธรรมดาเพียงอย่างเดียว
ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวหรือไม่
ถ้ามีอาการปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ อาจจะมีรอยโรคอื่นร่วมด้วย เช่น มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจจะเจริญที่กล้ามเนื้อมดลูกหรืออวัยวะอื่นๆในอุ้งเชิงกราน เพราะฉะนั้นควรตรวจวินิจฉัยให้ทราบแน่ชัดเสียก่อนว่าอาการปวดนั้นเป็นผลมาจากโรคร่วมอื่นๆหรือไม่ ซึ่งต้องประเมินทั้งอาการ ตัวโรค และความรุนแรงของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาว่าสามารถรักษาได้ด้วยยา เช่น ยาฮอร์โมน หรือมีข้อบ่งชี้ที่ต้องรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
อาการปวดท้องน้อยมีโรคอื่นที่ต้องระวังอะไรบ้าง
อาการปวดท้องน้อยนอกจากปวดท้องประจำเดือนแล้ว อาจปวดจากสาเหตุอื่นได้อีกหลายสาเหตุ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มีก้อนหรือถุงน้ำที่อวัยวะอุ้งเชิงกราน โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโรคมะเร็งที่อวัยวะอุ้งเชิงกราน เป็นต้น ทั้งนี้แพทย์ต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย อาจต้องต้องพิจารณาตรวจอัลตราซาวน์เพื่อหาความผิดปกติที่บริเวณอุ้งเชิงกราน รวมถึงอาจต้องเลือดเลือดตรวจปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค
บทความโดย
นพ.ศรุฒก์ กิจอันเจริญ
แพทย์เฉพาะทางด้านสูติ-นรีเวชกรรม
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วง COVID-19
ในวิกฤตการณ์นี้ คุณแม่หลายคนคงจะมีความกังวลในเรื่องของการให้นมลูกในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า คุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านรก หรือ น้ำนมสู่ลูกได้ โดยคุณแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ
เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูก ควรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายทางละอองฝอย (Droplet Precaution) อย่างเคร่งครัด เช่น สวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และ Social Distancing
ข้อมูลเบื้องต้นจากการแพทย์ทั่วโลกจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลว่าการติดเชื้อในแม่จะว่าส่งผลอย่างไรกับทารกในระยะ 3 - 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
มีข้อมูลเฉพาะแม่ติดเชื้อและมีอาการในระยะ 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด โดยรายงานจากประเทศจีนในช่วงแรกๆ ของการระบาด แม้แม่มีอาการมาก แต่ทารกไม่มีการติดเชื้อจากในครรภ์
มีรายงานว่า ทารกแรกเกิด 33 ราย ที่คลอดจากแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในโรงพยาบาลเมืองอูฮั่น มีทารก 3 คน พบมีเชื้อ COVID-19 ในตัวลูก แต่ไม่พบเชื้อในน้ำคร่ำ เลือดจากสายสะดือ และในน้ำนมแม่ ทารกทั้ง 3 รายมีอาการไม่รุนแรง
จากข้อมูลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การติดเชื้อในลูกน่าจะเป็นการติดเชื้อจากการปนเปื้อนสัมผัสเชื้อหลังเกิด ไม่ใช่จากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Vertical Transmission)
ดังนั้น การป้องกันหญิงตั้งครรภ์จากการสัมผัสเชื้อจึงมีความสำคัญอย่างมาก
กรณีที่แม่ติดเชื้อไวรัสและมีอาการไม่มาก หรืออยู่ในระยะเฝ้าระวัง และต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะให้นมแม่จากเต้า หรือการบีบน้ำนมให้ลูก คงต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางครอบครัว ดุลพินิจของแพทย์และการตัดสินใจร่วมกันของแม่
โดยเน้นย้ำว่าแม่ต้องรู้จักวิธีการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่ถูกต้องและทำอย่างเข้มงวด คือ ก่อนจะให้นมลูก ต้องล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อจากแม่ไปสู่ลูก ไม่เอามือไปจับหน้ากากหรือใบหน้า จัดการทำความสะอาดผิวสัมผัสใด ๆ ให้บ่อยครั้ง ควรพกผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชูพร้อมปิดปากเสมอถ้าจะจาม มีระบบการทิ้ง การทำลายเชื้อให้มีความคล่องตัว ถ้าต้องการแยกลูก ให้แม่บีบนมให้ผู้ช่วยดูแลนำนมป้อนลูก จนพ้นระยะเฝ้าระวังหรือหายเป็นปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : องค์การอนามัยโลก (WHO) , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
“ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”
การฝากครรภ์ เป็นสิ่งแรกที่คนกำลังจะเป็นคุณแม่ต้องนึกถึง เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะการพบคุณหมอในระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยได้ เพื่อให้ลูกที่คลอดออกมามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
เมื่อต้องไปพบหมอ หากคุณพ่อไปด้วยก็จะช่วยให้การดูแลระหว่างการตั้งครรภ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะคุณพ่อจะได้มีส่วนร่วมรับรู้วิธีการดูแลครรภ์และการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ เช่น การเลือกวิธีคลอด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ อย่างวิตามินที่ต้องรับประทาน การงดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ ฯลฯ อีกทั้งคำแนะนำของแพทย์ยังช่วยคลายปัญหาให้คุณแม่ได้อย่างเหมาะสม แทนที่จะไปฟังคนอื่นหรือจากที่คนอื่นแนะนำมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาการแพ้ท้อง การออกกำลังกาย ตลอดจนการทำอัลตราซาวนด์เพื่อดูความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ เพราะฉะนั้นการฝากครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ในทันทีที่เริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ อย่ารอจนใกล้ครบกำหนดแล้วจึงค่อยไปฝากครรภ์เป็นอันขาด ทางที่ดีที่สุดก็คือควรกันไว้ดีกว่าแก้ เพราะถ้าคุณแม่เกิดมีโรคแทรกซ้อนขึ้นมาในระหว่างนี้ก็อาจจะสายเกินแก้ได้นะคะ
วันนี้หมอมีคำตอบ
การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ จนคลอด เป็นสิ่งที่สำคัญ และควรได้รับการดูแลจากหมออย่างใกล้ชิด เพราะคงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า การได้เห็นลูกน้อยที่ได้ลืมตาดูโลก ด้วยความแข็งแรง
บทความโดย
พญ.อัญสุมาลินทร์ คำขาว
พัฒนาการของลูกน้อย ที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์
พัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรงตามวัยของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่ ทุกท่านต้องการ ดังนั้น การดูแลลูกตั้งแต่การตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะพัฒนาการที่สมบูรณ์เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์
ก่อนการตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวอย่างไร?
หากมีโรคประจำตัวอยู่ คุณแม่ควรควบคุมดูแลให้ดีก่อนตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจาง
เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร?
ไปพบแพทย์เพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ และทำการฝากครรภ์ ตรวจผลเลือด ทำการปรึกษาแพทย์ในเรื่องโรคประจำตัวต่างๆ ยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ , โรคพันธุกรรมต่างๆ ในครอบครัว (ถ้ามี) รวมไปถึงกรุ๊ปเลือด
12 สัปดาห์แรก
เตรียมรับมือกับอาการแพ้ท้อง ทานอาหารที่สามารถทานได้ ยังไม่ต้องคำนึงถึงการบำรุงมากนัก ยังไม่จำเป็นต้องทานยาบำรุงเลือด หรือแคลเซียม หรือนม ให้ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณท้องน้อย หลีกเลี่ยงการยกของหนัก คุณแม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ระวังการกระทบเทือนบริเวณท้องน้อย ยกเว้นคุณหมอจะสั่งห้าม คุณแม่มือใหม่สามารถออกกำลังกายได้ แต่ห้ามรุนแรง ห้ามหักโหม แนะนำให้ใช้วิธีการเดินดีกว่าวิ่ง และสามารถว่ายน้ำได้ ระมัดระวังการใช้ยาให้มากเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถใช้ยาแก้ปวดประเภท Paracetamol, ยาแก้หวัด Cholorpheniramine , ผงเกลือแร่
*และหากมีความจำเป็นต้องทำฟัน คุณแม่ต้องแจ้งคุณหมอทุกครั้ง “ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่”
*อย่าลืมหลีกเลี่ยง สารพิษและมลภาวะ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรค เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สุกใส โรคไข้หวัดใหญ่
11-14 สัปดาห์
สังเกตได้ว่าหน้าท้องจะใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ อาการแพ้จะเริ่มน้อยลง ทานอาหารได้มากขึ้น ควรเริ่มทานยาบำรุงเลือด เริ่มดื่มนม ทานอาหารที่มีประโยชน์กับครรภ์มากขึ้น ควรงดน้ำตาล ลดของหวาน ลดอาหารจำพวกไขมัน เน้นทานโปรตีน ผัก ผลไม้
ควรหาเวลามาตรวจอัลตร้าซาวด์ หรือตรวจเลือดเพื่อเช็คดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับลูก เช่น การเกิดดาวน์ซินโดรม (เกิดมากให้กลุ่มคุณแม่ช่วงอายุมากกว่า 35 ปี)
16 -18 สัปดาห์
(ในกรณีคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการที่ลูกอาจเป็นดาวน์ซินโดรม แนะนำให้เข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ) หาความรู้เรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ วิธีการเลี้ยงดูลูกหลังคลอด เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเวลาสบายที่สุดของคุณแม่ เพราะอาการแพ้ท้องจะเริ่มน้อยลง หรือไม่ค่อยแพ้ท้อง หากรอหลังคลอด คุณแม่อาจไม่มีเวลานั่งศึกษาข้อมูล เพราะอาจจะต้องวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยได้
20-22 สัปดาห์
หน้าท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้นถึงระดับสะดือ เริ่มสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เบาๆ แนะนำให้ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูอายุครรภ์ ตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อย ของรก และน้ำคร่ำ เน้นดูแลเรื่องอาหารการกิน ดื่มนมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ไม่แนะนำให้ใส่ชุดที่รัดหน้าท้อง
24 สัปดาห์
หน้าท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้นเหนือสะดือ รู้สึกถึงการดิ้นของลูกน้อยได้อย่างชัดเจน เน้นเข้มงวดเรื่องการทานยาบำรุงเลือด แคลเซียม และการดื่มนม (วันละ 2 แก้ว) ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ อย่าลืมเรื่องอาหารเป็นพิเศษ งดของหวาน น้ำหวาน ไขมัน เน้นทานโปรตีน ผัก ผลไม้ ควบคุมดูแลให้น้ำหนักอยู่ที่สัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ไม่ควรเกินหนึ่งกิโลกรัม (ชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน) ห้ามใช้วิธีการอดอาหาร ห้ามลดน้ำหนัก
28 สัปดาห์
สังเกตการดิ้นของลูกน้อยทุกวัน และให้นับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น เด็กที่แข็งแรงจะดิ้นมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ถ้าเกิดการตะคริว แสดงว่าลูกน้อยได้นำแคลเซียมจากตัวคุณแม่ไปใช้มาก แนะนำให้คุณแม่ทานนมให้มากขึ้น พักผ่อนให้มาก เดินและยืนให้น้อยลง ฟังเพลงสบายๆ จะเป็นเพลงคลาสสิก เพลงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกผ่อนคลาย จะได้อารมณ์ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อย
*หากคุณแม่ใส่แหวนอยู่ ควรถอดแหวนออกก่อนแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าถึงตอนใกล้คลอดนิ้วมืออาจจะบวม หากต้องผ่าตัดคลอด อาจเป็นอุปสรรคกับกระบวนการผ่าตัดได้
*คุณแม่ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้นสูง เนื่องจากสรีระมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จะทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และอาจทำให้ปวดหลังอีกด้วย
32 สัปดาห์
ตรวจเลือดติดตามภาวะโลหิตจาง ตรวจน้ำตาลในเลือด อย่าลืมนับจำนวนครั้งที่ลูกน้อยดิ้นทุกวัน พักผ่อนให้มาก ระมัดระวังการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หากมีอาการท้องแข็งบ่อยๆ แสดงว่าคุณแม่อาจจะเดินมากเกินไป ต้องพักผ่อนให้มากขึ้น เดินหรือยืนให้น้อยลง ยิ่งหากท้องแข็ง และมีอาการปวดตึงท้องร่วมด้วย ยิ่งต้องพักผ่อนให้มาก ห้ามฝืนเดินหรือทำงานต่อ
แนะนำให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก การนอนหงายอาจทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถนอนท่าไหนก็ได้ที่รู้สึกว่าสบาย หายใจได้ตามปกติ ไม่แน่นหน้าอก และลูกในครรภ์ดิ้นปกติ (หากลูกดิ้นมากผิดปกติแสดงว่าลูกอาจไม่ชอบท่าที่คุณแม่นอนอยู่) ให้พลิกตัวเปลี่ยนท่านอน และห้ามนอนคว่ำโดยเด็ดขาด
*ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเพราะท้องใหญ่อาจเกิดอันตราย
*น้ำมะพร้าวดื่มได้ แต่อย่ามาก เพราะน้ำตาลในเลือดอาจสูงผิดปกติได้
36 สัปดาห์
สังเกตอาการเจ็บครรภ์ (ท้องแข็ง และจะตึงเล็กน้อย เป็นทุกๆ 10 นาที ถ้าเป็นนานกว่า 1 ชม. คุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันที ) อย่าลืมนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น ช่วงนี้ลูกอาจจะดิ้นเบาลง เพราะลูกน้อยเริ่มโตตัวใหญ่ขึ้น ถ้าดิ้นเกิน 10 ครั้ง ถือว่าเป็นปกติ และควรจัดการตัวเอง ก่อนที่จะเตรียมตัวคลอด
- เคลียร์งานทุกอย่างที่ทำอยู่ให้เรียบร้อย
- ควรวางแผนในการเดินทาง ไปโรงพยาบาลหากเจ็บครรภ์ ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน
- การติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
- ที่สำคัญเลย เตรียมตั้งชื่อเจ้าตัวน้อยไว้ด้วย
- นำสมุดฝากครรภ์ไปด้วย
ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กของคุณพ่อ-คุณแม่ มีพัฒนาการที่สมบูรณ์และแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์
บทความโดย
นพ.วิพล ปิตานุเคราะห์
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนก้าวเข้าสู่ "วัยทอง"
วัยหมดประจำเดือน หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ วัยทอง หรือวัยหมดระดู คือวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ โดยเกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างมาจากรังไข่ เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น การทำงานของรังไข่จะลดลง ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิงค่อยๆ ลดลงตามลำดับ และนำมาซึ่งความผิดปกติต่างๆ ในหลายระบบของร่างกาย การได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถบอกได้ว่าท่านเข้าสู่วัยทองแล้วหรือไม่? และท่านควรจะได้รับการดูแลรักษาอย่างไรจึงจะเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุด
เมื่อเข้าสู่วัยทองแล้ว จะมีอาการอย่างไร?
อาการของวัยทองจะมีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะมีระยะเวลานานตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงหลายๆ ปีขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาจจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนหมดประจำเดือนหลายปี หรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้วจึงค่อยเริ่มมีอาการ และอาการเหล่านี้อาจจะเป็นๆ หายๆ หรือเกิดตลอดก็ได้
อาการทางด้านร่างกายซึ่งพบได้ในผู้ที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง
- เริ่มมีรอบประจําเดือนไม่สม่ำเสมอ ทั้งในด้านของปริมาณและระยะเวลาที่มี
- อาการร้อนวูบวาบตามตัว หรือรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามร่างกายคล้ายจะเป็นไข้
- เหงื่อออกมากขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- มีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ
- เวียนศีรษะ หรือ ปวดศีรษะ
- ปวดตามกล้าม หรือปวดตามข้อต่างๆ
- ผิวหนังแห้งกร้าน เหี่ยวย่น ขาดความชุ่มชื้น
- มีอาการใจสั่น หรือ รู้สึกใจแนวผิดปกติ
- รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ
- ช่องคลอดแห้งทําให้เกิดอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
- มีการติดเชื้อในช่องคลอด หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
- อาการปัสสาวะเล็ดราด หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อาการทางด้านจิตใจซึ่งพบได้ในผู้ที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง
- อาการวิตกกังวล
- อาการซึมเศร้า
- อาการหงุดหงิดกระวนกระวาย
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ขาดสมาธิในการทําสิ่งต่างๆ
- ขี้หลงขี้ลืมง่าย
ภาวะวัยทอง รักษาอย่างไร
เมื่อท่านเข้าสู่ภาวะวัยทอง ท่านควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- การป้องกันรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก
- การตรวจหาสารเคมีในเลือดที่เป็นตัวบ่งบอกถึงอัตราการสร้างและการสลายของเนื้อกระดูกในร่างกายว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด
- ให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสหวานจัด เป็นต้น
- การออกกำลังกายที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต การลดความเครียดต่างๆ
- การเลือกใช้ชนิดและรูปแบบของฮอร์โมนที่เหมาะสม ในรายที่มีความจำเป็นในการใช้ฮอร์โมน แพทย์จะเป็นผู้ที่ช่วยให้คำแนะนำการใช้และดูแลผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการเลือกใช้ชนิดและรูปแบบของ ฮอร์โมนที่เหมาะสม เนื่องจากฮอร์โมนไม่ได้มีเฉพาะในรูปยารับประทานอย่างเดียวแต่ยังมีในรูปแบบต่างๆ เช่น ครีมทาผิวหนัง แผ่นติดผิวหนัง ชนิดสอดช่องคลอด เป็นต้น
- การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาด้านวัยทองได้
- การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนที่จะเกิดปัญหากระดูกหักได้ และอาจก่อให้เกิดความพิการและความสิ้นเปลืองเรื่องค่าใช้จ่ายตามมา ดังนั้นการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และให้การป้องกันรักษาภาวะกระดูกพรุนเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง ก่อนที่จะเกิดปัญหากระดูกหักได้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน