การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ที่เรามักพบกันบ่อยๆ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่ความเสื่อมลง เช่น การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวที่ช้าลง กระดูกและกล้ามเนื้อที่เล็กลง การเคี้ยวอาหาร รวมถึงระบบอวัยวะภายในต่างๆที่มีระบบการทำงานที่เสื่อมถอยลง

แต่การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ไม่ได้พบแค่เพียงร่างกายอย่างเดียว แต่ยังพบ "การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ" และการเปลี่ยนแปลงที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุด้วย ไม่ว่าจะเป็น…

การเตรียมตัวให้พร้อม ในการก้ามเข้าสู่ "วัยผู้สูงอายุ" หรือ "วัยทอง"

กรณีที่สุขภาพใจมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนใกล้ตัวควรแนะนำให้ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษา และป้องกันปัญหารุนแรงที่อาจเกิดตามมาได้

บทความนี้ อ้างอิง และเรียบเรียงข้อมูลจาก : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

โรคแพนิค คืออะไร ?... น่ากลัวอย่างที่คิดไหม ?

โรคแพนิค คือ ภาวะปัญหาของร่างกายตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาชั่วขณะ และเมื่อร่างกายตื่นตระหนกขึ้นมาทันที จึงทำให้ร่างกายเรามีการกระตุ้นทุกระบบพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จุกเสียดแน่นท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน อยู่ดีๆเหงื่อออก มือไม้สั่น รู้สึกชา เป็นต้น

หากสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคแพนิคควรทำอย่างไร ?

จริงๆ แล้วโรคแพนิค อาจสัมพันธ์กับโรคทางกาย ซึ่งมักจะพบได้ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคแพนิค ขั้นแรกควรทำการตรวจร่างกายร่วมด้วย เช่น การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ วัดคลื่นหัวใจ เป็นต้น ฉะนั้น หากมีอาการคล้ายโรคหัวใจ ใจสั่น หายใจไม่ออก ให้รีบมาโรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉินก่อนเพื่อทำการตรวจร่างกาย แต่ท้ายที่สุด หากหาสาเหตุทางกายไม่พบ และค่อนข้างมั่นใจ จากนั้นจึงจะทำวินิจฉัยเรื่องโรคแพนิคต่อ

สังเกตตัวเองอย่างไร ให้รู้ทัน และห่างไกลโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ถือว่าเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในโลกที่ค่อนข้างรุนแรง และมีผลกระทบกับชีวิตพอสมควร เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจะนิ่งดูดาย และเราไม่ควรต้องรอจนเราเป็นซึมเศร้า เพราะฉะนั้นอาการแรกเริ่มของซึมเศร้าเป็นอย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกันนะครับ

อาการที่บ่งบอก ว่าเรากำลังตกอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าหรือไม่ ?

หากมีอาการดังกล่าว และปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจส่งผลต่อชีวิตได้ ทั้งนี้แนะนำให้เข้ามาพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ รวมถึงวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไข

บทความโดย
นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์
จิตแพทย์ และ ผอ.รพ.แพทย์รังสิต

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางท่านอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูก หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม

โรคซึมเศร้า หลังคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงปีแรกหลังจากคลอดบุตร โดยอาการที่มักพบได้ มีดังนี้

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้น หากมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้หญิงแต่ละท่านค่อนข้างแตกต่างกันไป หากสงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะนี้ ควรไปพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะพูดคุยและสอบถามอาการเพื่อระบุว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดขึ้นชั่วคราว หรือเป็นภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย หรืออาจเจาะเลือดไปตรวจหากสงสัยว่าอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากภาวะอื่น

การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์  ดังนั้น คุณแม่ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมาและซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้แพทย์และคนใกล้ชิดสามารถร่วมมือกันช่วยให้การรักษาเป็นไปในทางที่ดี
โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า วิธีการรักษาที่แพทย์มักใช้ มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ในระยะยาว และอาจส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวได้ โดยเฉพาะตัวคุณแม่เอง เช่น ทำให้คุณแม่กลายเป็นโรคซึมเศร้า และส่งผลต่อความสามารถในการเลี้ยงดูทารก ส่วนผลกระทบต่อลูก ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจทำให้ทารกมีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น นอนหลับยาก ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร ร้องไห้มากผิดปกติ เป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีปัญหาพัฒนาการทางภาษา เป็นต้น

        นอกจากนี้ คุณพ่อของเด็กก็อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในครอบครัวไปด้วย ซึ่งทำให้เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้า

 การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

สัญญาณเตือนอาการซึมเศร้าของวัยรุ่น โดย พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น


โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นพบได้บ่อย แต่มักไม่เป็นที่สังเกต อุบัติการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่น และเมื่อสิ้นสุดวัยรุ่น โดยมีความชุกประมาณ 4-5% ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังนำไปสู่ความบกพร่องทางสังคมและการศึกษา สัมพันธ์กับอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้สารเสพติดและโรคอ้วน
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น คือ ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ความเครียดทางจิตสังคม ฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และภาวะซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่
จากการศึกษาติดตามระยะยาวพบว่าอาการซึมเศร้าของวัยรุ่นช่วงแรก มักแสดงอาการซึมเศร้าไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นแม้ว่าอาการจะยังไม่รุนแรง
สัญญาณเตือนอาการซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่น อาจแสดงออกมาเป็นอารมณ์เศร้า หรือ อารมณ์หงุดหงิด หรือไม่สนุกกับสิ่งต่างๆ เกือบทุกวัน นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ อาการร่วมอื่นๆ เช่น

กรณีซึมเศร้าในเด็กนอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว อาจแสดงออกเป็นอาการทางร่างกายมากขึ้น เช่น ปวดหัวหรือปวดท้องบ่อยๆ ได้

วิธีการช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้า คือ การรับฟังเด็กอย่างตั้งใจ ให้เวลาเด็กได้อธิบายโดยไม่ตั้งคำถามเซ้าซี้ พูดคุยเรื่องความรู้สึกๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเด็กรู้สึกอย่างไรและมีอะไรรบกวนจิตใจหรือไม่? รอให้เด็กเล่าจบ จึงให้คำชมเชยสิ่งที่เด็กได้พยายามทำ หรือพยายามแก้ปัญหาที่ผ่านมา ถามความต้องการของเด็ก แล้วจึงเสนอคำแนะนำต่างๆ เป็นทางเลือกให้เด็กได้พิจารณาตัดสินใจ

วิธีการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การรักษาด้วยจิตบำบัด การให้คำแนะนำ การปรับความสัมพันธ์ในครอบครัว การปรับพฤติกรรม การปรึกษาปัญหากับทางโรงเรียน และการใช้ยาแก้ซึมเศร้า

หากผู้ปกครองสงสัยว่าบุตรหลานอาจมีภาวะซึมเศร้า ผู้ปกครองควรขอความช่วยเหลือจากกุมารแพทย์ ที่ปรึกษาของโรงเรียน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อประเมินปัญหาอย่างครอบคลุม วินิจฉัยภาวะซึมเศร้า และระบุวิธีการรักษาที่เหมาะสม

บทความโดย
พญ.ชนม์นิภา บุตรวงษ์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้