ช่วงนี้ ฝุ่น PM 2.5 เริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อากาศก็เปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งจะส่งผลกับลูกน้อยของเราอย่างแน่นอน โดยมักพบว่าจะมีอาการป่วย มีไข้ ไอมีเสมหะ และการมีเสมหะนั่นเอง ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราก็จะมาสอนๆ พ่อๆแม่ๆ ทุกท่านในเรื่องของการเคาะปอดเพื่อร่อนระบายเสมหะ ง่าย ๆ ที่สามารถทําตามได้ที่บ้าน
สาเหตุของการเกิดเสมหะ เกิดจากเยื่อบุปอดของเรามีการอักเสบร่างกายเราก็จะมีการหลั่งสารคัดหลั่ง ซึ่งเรียกว่าเสมหะหรือน้ํามูกออกมา ดังนั้นเด็กน้อยจะไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ เสมหะก็จะคั่งค้างอยู่ในปอดเยอะ จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ปกครองต้องช่วยร่อนระบายเอาเสมหะตรงนั้นออกมาผ่านวิธีการเคาะปอดที่ถูกต้อง
การเตรียมตัวลูกน้อย ก่อนการเคาะปอด มีอะไรบ้าง ?
วิธีการเคาะปอด สำหรับเด็กเล็ก หรืออายุต่ำกว่า 1 ปี
2. จับน้องนอนหงาย และเคาะโดยใช้ฝ่ามือ โดยใช้อุ้งมือ เคาะไปยังบริเวณทรวงอกของเด็ก บริเวณที่จะเคาะ ก็คือบริเวณใต้ต่อกระดูกไหปลาร้าลงมาถึงบริเวณชายโครง ให้เคาะโดยใช้วิธีสะบัดข้อมือ ไม่เกร็งมือ เพราะถ้าเราเกร็งมือมันจะเป็นการตีแล้วเด็กอาจจะเกิดการเจ็บได้ ทั้งนี้ให้เคาะไปให้ทั่วทั้งสองข้างซ้ายขวา
คำแนะนำ : ใช้เวลาเคาะแต่ละท่า ประมาณ 3 – 5 นาที
วิธีเคาะปอด สำหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป
คำแนะนำ : ใช้เวลาเคาะแต่ละท่า ประมาณ 3 – 5 นาที
สามารถรับชมคลิปเต็ม เพื่อดูวิธีการเคาะปอดที่ถูกต้องได้ที่ :
6 ท่า บรรเทาอาการปวด"หลังส่วนล่าง ชาร้าวลงขา" หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ท่าที่ 1 นอนคว่ำ หันหน้าไปด้านหนึ่ง ทำเป็นระยะเวลาประมาณ 5 นาที และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 2 ตั้งศอก ดันตัวขึ้นลง 5 - 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ และห้ามเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 3 ใช้แขน เหยียดข้อศอก และดันตัวขึ้นลง 5 - 10 ครั้ง ควรทำอย่างช้าๆ ไม่ควรเกร็งหลัง และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 4 ยืน และนำมือทั้ง 2 ข้าง ค่อยๆ ดันบริเวณหลังส่วนล่าง 5 - 10 ครั้ง และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 5 นอนหงายชันเข่า แขม่วท้องให้หลังชิดเตียง หายใจเข้า-ออก 5 - 10 ครั้ง ทำ 3 รอบ อย่างช้าๆ และควรทำอย่างช้าๆ และหากมีอาการปวดให้หยุดทำทันที แต่หากไม่มีอาการสามารถทำท่าต่อไปได้
ท่าที่ 6 แขม่วท้องค้างไว้ ยกขา 1 ข้าง ขึ้นมาประมาณ 90 องศา ส่วนขาอีกข้างให้ชันเข่าไว้ ทำสลับกันไปอย่างช้าๆ โดยหายใจเข้า 5 -10 ครั้ง
หากท่านใดทำ 6 ท่าดังกล่าว แล้วมีอาการมากขึ้น แนะนำให้หยุดทำ และรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป
พิชิตอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy
ออฟฟิศซินโดรม อาการปวดเรื้อรังที่อันตรายกว่าที่คิด เพราะหากปล่อยไว้ อาจนำมาซึ่งความผิดปกติ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, กระดูกสันหลังคด, ข้อไหล่ติด และอีกมากมาย
โรงพยาบาลแพทย์รังสิต มีบริการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยเทคโนโลยี เครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy เป็นวิธีการรักษาโรคที่ปลอดภัย
โดยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy จะเป็นเครื่องที่ให้การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็ก โดยคลื่นแม่เหล็กจะเข้าไปเหนี่ยวนำเส้นประสาทให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเส้นประสาทนั้นๆ (Depolarization) ซึ่งมีผลช่วยปรับการทำงานของเส้นประสาทให้เข้าสู่สมดุล ช่วยลดอาการปวดต่างๆ ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนปลาย ช่วยซ่อมแซมเส้นประสาท ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
นอกจากเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy จะช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังช่วยรักษาอาการปวด และโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น อาการปวดคอ บ่า และหลัง เนื่องจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท, โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ และอื่นๆ อีกมากมายร้าวลงขา หรืออาการชา
โดยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy นี้ ยังสามารถตั้งโปรแกรมที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลได้ ทำให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดของผู้เข้ารับบริการ ไม่ทำให้เจ็บ หรือ ปวด ขณะรักษา และใช้เวลารักษาโดยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy ประมาณ 30 นาทีขึ้นอยู่กับบริเวณที่รักษา
การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy นี้ จะช่วยลดอาการปวดได้ดี และหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาการปวดจะดีขึ้นตามลำดับ
ข้อห้าม / ข้อควรระวังในการรักษาโดยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Magnetic Therapy
1. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
2. ผู้หญิงตั้งครรภ์
3. จุดที่มีเครื่องไฟฟ้าฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
4. จุดที่มีโลหะเป็นวงกลม เช่น ลวดไวร์ริ่งบริเวณลูกสะบ้า (ส่วนโลหะอื่นที่ไม่ใช่วงกลม ไม่เป็นข้อห้าม)
5. ถอดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดออกขณะรักษา เช่น โทรศัพท์มือถือ , รีโมทรถยนต์ , นาฬิกา , บัตรเอทีเอ็ม, คีย์การ์ด เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ทั้งคอ บ่า ไหล่ และบริเวณอื่น อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรเข้ามารับการรักษาก่อนที่อาการปวดจะเรื้อรังจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
7 พฤติกรรมเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม หรือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ คอบ่า ที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงานนานเกินไป โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ จนเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจมีมีอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง
และไม่ใช่แค่การนั่งทำงานนานเกินไปเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของ ออฟฟิศซินโดรม แต่ยังมีอีกหลายพฤติกรรม ที่เราทำกันเป็นประจำ และส่งผลเสียต่อสุขภาพ
7 พฤติกรรมเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม อาจไม่ได้เป็นเพียงแต่พนักงานบริษัทเท่านั้น อาจมีอาชีพอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้เหมือนกัน ดังนั้น เราควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้โดยเร็วและหากท่านที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือ อาการปวดเรื้อรัง ควรรีบมาปรึกษานักกายภาพบำบัดนะคะ
4 ท่าแก้อาการปวดคอ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน