APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ใครบ้างควรส่องกล้องทางเดินอาหาร ? และเราควรเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องอย่างไรดี ?

ไขข้อสงสัย ผู้ป่วยกลุ่มใดควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ และหากเราจะต้องส่องกล้องทางเดินอาหารจริงๆ เราควรเตรียมตัวยังไงดี เพื่อให้การส่องกล้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากบทสัมภาษณ์คำถามพร้อมคำตอบ

โดย นพ.นัทธ์ชนัน แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ

คำถามที่ 1 : ส่องกล้องกระเพาะอาหาร คืออะไร ? ทำไมเราถึงควรตรวจส่องกล้อง ?

นพ.นัทธ์ชนัน :  อันดับแรก หมออยากให้ทุกคนทราบก่อนครับว่า การส่องกล้องทางเดินอาหาร จะมีการส่องกล้องอยู่ 2 แบบ

         แบบที่ 1 คือ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก หรือที่เรียกว่า Gastroscopy โดยเราจะส่องกล้องลงไปตั้งแต่ช่องปาก ช่องคอ หลอดอาหาร ไล่ลงไปยังพระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการส่องกล้อง Gastroscopy นี้ จะใช้เวลาไม่นานครับ ประมาณ 20 – 30 นาที และเหมาะกับการหาสาเหตุอาการโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน อาการปวดท้องเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบรวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

          แบบที่ 2 คือ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย

ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือที่เรียกว่า Colonoscopy การส่องกล้องนี้ จะส่องผ่านบริเวณทวารหนัก เข้าไปถึงส่วนของลำไส้ใหญ่ตอนต้นเลยครับ การตรวจส่องแบบ Colonoscopy จะเหมาะกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเนื้อร้ายได้ รวมถึงสามารถหาความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ติ่งเนื้อ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท่านใดที่มีอาการ ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น

          การส่องกล้องทางเดินอาหารทั้ง 2 แบบนี้ นับเป็นการตรวจหาโรค หรือคัดกรองโรคทางเดินอาหาร ที่จะทำให้แพทย์เห็นรอยโรคและสิ่งผิดปกติที่ชัดเจนที่ดีที่สุด และอาจทำให้แพทย์สามารถหยุดยั้งโรคร้ายแรงได้ทัน แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม

คำถามที่ 2 : ใครบ้างที่ควรส่องกล้องทางเดินอาหาร ?

นพ.นัทธ์ชนัน : หมอขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มครับ

  • กลุ่มคนที่มีอาการ ดังต่อไปนี้ครับมีอาการปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องเสียสลับท้องผูก อาเจียนเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ เป็นต้นครับ
  • กลุ่มคนทั่วๆไป ที่ไม่มีอาการ แต่อายุมากกว่า 40 ปี แนะนำให้ตรวจสุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพื่อประเมินความผิดปกติ และหากตรวจไม่พบความผิดปกติ อาจพิจารณาให้ตรวจซ้ำทุก 5 ถึง 10 ปีครับ

คำถามที่ 3: การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องทางเดินอาหาร ?

นพ.นัทธ์ชนัน : การเตรียมตัวสำหรับการส่องกล้องทางเดินอาหารทั้ง 2 แบบ

การเตรียมตัวสำหรับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

  • แนะนำให้งดน้ำ งดอาหารอย่าง 6-8 ชั่วโมง
  • งดกินยาบางประเภทตามแพทย์สั่ง อย่างน้อย 7 วัน เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แอสไพริน

การเตรียมตัวสำหรับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย

  • ก่อนวันตรวจ 1 วัน ควรรับประทานอาหารอ่อน หรือเหลว และในบางรายอาจจำเป็นต้องรับยาระบายเพิ่มเติม
  • งดกินยาบางประเภทตามแพทย์สั่ง

ทั้งนี้ ก่อนเข้ารับบริการตรวจการส่องกล้องทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นส่วนต้นหรือส่วนปลาย หมออยากแนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและประเมินอาการก่อนว่าตนเองเหมาะสำหรับการส่องกล้องแบบใด หรือแม้กระทั่งว่าควรตรวจอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยทุกท่านสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ได้ที่ อายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ และศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร ที่โรงพยาบาลแพย์รังสิต 2 ได้เลยครับ

รับชม Video

อ่านบทความ

วิดีโอ

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้