APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบสาเหตุการเสียชีวิตฉับพลัน

“หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบสาเหตุการเสียชีวิตฉับพลัน” โดย นพ.วัชรินทร์ ประเสริฐสุด อายุรแพทย์ด้านการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

หลอดเลือดหัวใจตีบ ที่หลายคนเรียกว่า “ภัยเงียบ” เพราะเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน อาจจะมีสัญญาณเตือนบ้าง หรือไม่มีสัญญาณเตือนบ้าง คนที่แข็งแรง เช่น นักกีฬา / นักข่าว หรือวัยรุ่นหนุ่มสาว อยู่ดีๆ ฟุบลงไปเลยก็มี

ซึ่งบางคนอาจจะมีสัญญาณเตือนแล้ว แต่คิดว่าเป็นโรคอื่น เช่น อาการจุกเสียด แสบร้อนบริเวณหน้าอก อาการเหมือนกรดไหลย้อน หรือ มีอาการปวดไหล่, จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ แม้กระทั่วปวดกราม หรือปวดฟันก็เคยมี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนเป็น “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” จะแบ่งออกเป็น 2 ข้อ
1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การสูบบุหรี่ , ดื่มสุรา , ทานอาหารหวาน มัน เค็ม หรือที่มีไขมันทรานส์เยอะๆ
2. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้  เช่น เพศ โดยเพศชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง แต่หากเพศหญิงหมดประจำเดือน ก็จะมีความเสี่ยงเท่ากับเพศชาย, อายุ ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น, พันธุกรรม

สำหรับคนที่ตรวจพบว่าเป็น “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” สิ่งแรกที่ควรต้องทำ คือลดปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมได้ และรักษาตามที่แพทย์แนะนำ เช่น การทานยา หรือหากฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ แล้วพบหลอดเลือดหัวใจตีบ เยอะมากกว่า 1 เส้น และตีบมากกว่า 70% จะไม่สามารถทานยารักษาได้ ต้องขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูน หากตีบมากกว่า 3 เส้น อาจรักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน / วันละ 30-40 นาที โดยเฉพาะบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจประจำปี

บทความโดย
นพ.วัชรินทร์ ประเสริฐสุด

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้