APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
APPOINTMENT
นัดหมายแพทย์
สายด่วน
02-998-9999

ดูแลตัวเองอย่างไร? ให้ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์

ดูแลตัวอย่างไร ให้ห่างไกล "โรคอัลไซเมอร์"

อาการหลงๆ ลืมๆ มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ยกตัวอย่าง เช่น ลืมว่าตนเองรับประทานอะไรในมื้อเช้า จำไม่ได้ว่าวางของไว้ตรงไหน เดินหมุนรอบตัวเพราะจไม่ได้ว่าจะหยิบสิ่งของอะไร หากเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยและพบว่ามีความรุนแรงขึ้น อาจมีผลต่อชีวิตประจำวันของตนเองและคนรอบข้าง ก็นับว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป

สาเหตุ อาจมาได้จากความเสื่อมถอยตามอายุ หรือมาจากเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ การติดเชื้อในสมอง ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 12 หรือ กรดโฟลิก หรืออาจมีเนื้องอกในสมอง หรืออาจเกิดจากการแปรปรวนของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การอักเสบของเส้นเลือดในสมองเป็นเวลานาน ยาหรือสารโลหะหนักที่เป็นพิษ โพรงน้ำในสมองขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น

แล้วเมื่อไหร่เราควรตระหนักว่าอาจจะเป็น"โรคอัลไซเมอร์" ??

  • หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์ หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้
  • สับสนเรื่องเวลา สถานที่ จำเส้นทางไปทีที่คุ้นเคยหรือกลับบ้านไม่ถูก
  • จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อ สมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลงหน้า
  • ลืม บอกชื่อสิ่งของไม่ถูก พูดแต่ชื่อซ้ำๆ
  • ไม่สนใจสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก เพิกเฉยต่อสิ่งที่ชอบทำ
  • กดโทรศัพท์ไม่เป็น จำวิธีกดไม่ได้ ติดกระดุใเสื้อไม่ถูก ใช้ช้อนส้อมผิดข้างประจำ
  • อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
  • ออกนอกบ้านเอง
  • สีหน้านิ่งเฉย ไม่ค่อยยิ้ม
  • ปล่อยปะละเลยตนเอง ไม่สนใจดูแลความสะอาดตนเอง เช่น ลืมแปรงฟัน ลืมอาบน้ำ หรือบางรายอาจหนักถึงขั้นจำวิธีการแปรงฟัง หรืออาบน้ำไม่ได้

หากพบว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวมีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรืออาจเป็นโรคสุขภาพอื่นๆ ควรรีบมาพบแพทย์อายุรกรรมระบบประสาท เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียด และวางแผนการรักษาต่อไป

ปัจจัยที่อาจจะมีผลในการช่วยชะลอเรื่องของการเกิดอัลไซเมอร์ คือ การับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และครบตามหมวดหมู่ เพิ่มการออกกำลังกายมากขึ้น ควบคุมโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรใช้เรื่องของการกระตุ้นการใช้สมอง หรือบริหารสมอง โดยมีงานวิจัยว่าคนที่มีการกระตุ้นสมอง ได้ใช้ความคิด บริหารสมอง มีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์อยู่ที่ประมาณ 23%  แต่ในขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้บริหารสมองมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงถึง 115% ทั้งนี้ปัจจุบันเรื่องของมลพิษ มลภาวะต่างๆ ในส่วนนี้ก็เหมือนเป็นตัวกระตุ้นในการโรคอัลไซเมอร์ต่างๆได้เช่นเดียวกัน

เคล็ดลับ(ที่ไม่ลับ) อาหารสมอง ต้านอัลไซเมอร์

  • ไข่ โปรตีนย่อยง่าย มีเลซิตินช่วยการทำงานของระบบประสาท
  • นมมีโปรตีนบางชนิด ที่ทำให้สารซีโรโทนินและโดพามีนในสมองสูงขึ้น สมองจะตื่นตัวและกระฉับกระเฉง
  • ปลาทะเลมีสังกะสี และไอโอดีนสูง ไขมันจาก อย่างปลาทู ปลากระพง ปลาโอ ปลาอินทรีมีกรดไขมัน DHA ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นองค์ประกอบสำคัญของสมอง
  • ข้าวซ้อมมือ มีโฟเลทสูงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว และช่วยทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองมากขึ้น ทั้งนี้ยังพบโฟเลทมากในขนมปังโฮลวีท ข้าวบาร์เลย์
  • ถั่ววอลนัท เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่มีแมกนีเซียมมาก ทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
  • ถั่วอัลมอนด์ มีฟีลอะลานีน ที่จะกระตุ้นโดพามีน และนอร์อะดรีนาลินเพิ่ม มีวิตามินบี 2 ที่จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
  • สตอเบอรี่ บลูเบอรี่ อโวคาโด มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์สมอง
  • มะเขือ ผิวของมะเขือมีสาร Nasunin ช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ประเภททอด และอาหารลมควันต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีอนุมูลอิสระจำนวนมาก และมีไขมันอิ่มตัวสูง เป็นร้ายต่อหลอดเลือดสมอง

บทความโดย
นพ.พรพจน์ ประภาอนันตชัย
แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมระบบประสาทและสมอง

บทความทางการแพทย์
แพ็กเกจและโปรโมชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน

ตั้งค่าคุกกี้